ห้องเจนเนอเรเตอร์ (Generator) ที่มีมาตรฐาน เป็นอย่างไร มีขนาดเท่าไร

ห้องเจนเนอเรเตอร์ (Generator) ที่มีมาตรฐาน เป็นอย่างไร มีขนาดเท่าไร

ไฟฟ้าสำรองเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารที่มีขนาดใหญ่หรือตึกสูง ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างห้องเจนเนอเรเตอร์ (Generator) หรือห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแยกต่างหาก ซึ่งห้องเจนเนอเรเตอร์ที่ดีต้องเก็บเสียงเครื่องปั่นไฟได้ และมีมาตรฐานความปลอดภัย แล้วจะต้องออกแบบอย่างไร มีขนาดเท่าไร ให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทความนี้

ห้องเจนเนอเรเตอร์ (Generator) คืออะไร

ห้องเจนเนอเรเตอร์ (Generator) คืออะไร

ห้องเจนเนอเรเตอร์ (Generator) หรือห้องเก็บเสียงเครื่องปั่นไฟ คือพื้นที่เฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อใช้เก็บเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ห้องนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปจะตั้งอยู่กลางแจ้งหรือในอาคารที่แยกจากกัน มีการติดตั้งระบบระบายอากาศเพื่อให้แน่ใจว่ามีการไหลเวียนของอากาศและการระบายความร้อนที่เหมาะสม รวมถึงวัสดุกันเสียงเพื่อลดระดับเสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์ ห้องเจนเนอเรเตอร์มักจะมีความปลอดภัยสูง เช่น มีระบบดับเพลิง และห้องเก็บเชื้อเพลิง เพื่อให้มั่นใจถึงการทำงานที่เชื่อถือได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้องเจนเนอเรเตอร์มีความจำเป็นสำหรับอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ สำหรับอาคารทั่วไปก็สามารถมีได้เช่นกัน

เกณฑ์ห้องเจนเนอเรเตอร์ที่ได้มาตรฐาน มีอะไรบ้าง

มาตรฐานห้อง Generator ต้องมีเกณฑ์การออกแบบที่ครอบคลุม เพื่อความมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยมีหลักเกณฑ์การออกแบบห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนี้

  • ห้องเจนเนอเรเตอร์จะต้องอยู่แยกออกจากห้องและระบบอื่นๆ รวมถึงต้องมีระบบระบายอากาศที่ดี
  • ห้องเจนเนอเรเตอร์ หรือห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องมีความสามารถในการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
  • ห้องเจนเนอเรเตอร์ต้องมีระยะห่างระหว่างฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและผนังห้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร
  • ด้านหลังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1.5 เมตรขึ้นไป
  • ห้องเจนเนอเรเตอร์ต้องไม่มีฝ้าเพดานติดตั้งอยู่ เพื่อป้องกันกรณีไฟไหม้ลุกลาม
  • ฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีขนาดใหญ่กว่าตัวเครื่อง 6 นิ้ว หรือ 150 มิลลิเมตรในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สามารถติดตั้งสปริงหรือยางรองแท่นเครื่องได้
  • ฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องยกสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว หรือ 150 มิลลิเมตร เพื่อให้สะดวกต่อการบำรุงรักษาและการซ่อมแซม

การออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์

การออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์

การออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานเป็นหลัก ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมเต้ารับไฟฟ้า 1 เฟส พร้อมสายดินอย่างน้อย 2 จุด โดยวงจรไฟฟ้าสำหรับเต้ารับต้องแยกอิสระจากวงจรอื่น และต้องมีการจ่ายไฟจากการโหลดของอุปกรณ์โอนถ่ายแหล่งจ่ายไฟ
  2. เตรียมวงจรย่อยที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยจะต้องจ่ายไฟจากการโหลดของอุปกรณ์โอนถ่ายแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งมีอุปกรณ์ ดังนี้
    1. เครื่องสูบน้ำมันเชื้อเพลิง
    2. เครื่องสูบสารหล่อเย็น
    3. ระบบระบายอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์
  3. จัดเตรียมวงจรย่อยจากระบบจ่ายไฟปกติ ไว้เพื่อสำหรับชุดความร้อนของสารหล่อเย็น ชุดอัดประจุแบตเตอรี่
  4. จัดเตรียมระบบสัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

สิ่งที่ต้องระวังในการออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์

สิ่งที่ต้องระวังในการออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์

การออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์มีสิ่งที่ต้องระมัดระวังหลายอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายรองรับ และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายในอาคาร ซึ่งมีด้วยกัน ดังนี้

ข้อห้ามของการออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์ 

การออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์มีข้อห้ามบางประการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและเพื่อความปลอดภัย โดยมีข้อห้ามดังต่อไปนี้

  • ห้ามเก็บวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในห้องเจนเนอเรเตอร์ ยกเว้นถังน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • ห้ามใช้วัสดุไวไฟเป็นส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง กำหนดไว้ว่า บริเวณกระบวนการผลิต/บริเวณที่ทำงานกับเครื่องจักร ต้องมีค่าเฉลี่ยความเข้ม ของแสงสว่างที่ 300 ลักซ์ และจุดที่ความเข้มของแสงสว่างต่ำสุดที่ 150 ลักซ์ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  • วงจรไฟฟ้าสำหรับแสงสว่างต้องจ่ายจากการโหลดของอุปกรณ์โอนแหล่งจ่ายไฟ

ข้อคำนึงถึงของการออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์ 

การออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงบางประการ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคงไว้ซึ่งความปลอดภัย ดังนี้

  • ต้องมีการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำรองฉุกเฉิน
  • ระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำรองฉุกเฉินต้องมีแหล่งจ่ายไฟแยกต่างหากจากวงจรที่จ่ายไฟปกติ
  • ระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำรองฉุกเฉินต้องมีระยะเวลาในการใช้งานไม่ต่ำกว่า 90 นาที
  • ระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำรองฉุกเฉินต้องมีความสว่างอย่างน้อย 32.3 ลักซ์

ห้องเจนเนอเรเตอร์ ควรติดตั้งตำแหน่งใด ตามมาตรฐานและกฎหมายกำหนด

ห้องเจนเนอเรเตอร์ควรติดตั้งในตำแหน่งที่สะดวกต่อการขนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต้องมีการระบายอากาศที่ดี มีปริมาณอากาศที่ใช้ในการสันดาปและระบายความร้อนเพียงพอ ต้องตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากน้ำท่วมขัง รวมถึงมีข้อห้ามไม่ให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อื่น สำหรับโหลดระดับ 1 ติดตั้งอยู่ในห้องเดียวกันกับระบบไฟฟ้าอื่น ที่มีแรงดันมากกว่า 150 โวลต์ และมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 1,000 แอมป์ขึ้นไป

ระบบระบายอากาศของห้องเจนเนอเรเตอร์ที่ถูกต้อง

การออกแบบระบบระบายอากาศของห้องเจนเนอเรเตอร์ที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน ควรมีหลักการดังต่อไปนี้

ตำแหน่งช่องอากาศเข้า ตำแหน่งช่องอากาศออก
ควรอยู่ในตำแหน่งต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควรอยู่ในตำแหน่งสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ต้องอยู่ด้านหลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต้องอยู่ด้านหน้าชุดหม้อน้ำระบายความร้อน
ห้ามอยู่บนผนังเดียวกันกับช่องอากาศออก หรือควรอยู่ตรงข้ามกับชุดหม้อน้ำระบายความร้อน  ห้ามอยู่บนผนังเดียวกันกับช่องอากาศเข้า หรือควรอยู่ตรงข้ามกัน
ต้องไม่มีสิ่งอื่นๆ มากีดขวาง ต้องไม่มีสิ่งอื่นๆ มากีดขวาง
ต้องห่างจากปลายท่อไอเสียไม่ต่ำกว่า 5 เมตร ท่อนำอากาศออกจากรังผึ้งช่องระบายความร้อนจะต้องเป็นชนิด Self – supporting
ความเร็วสูงสุดต้องไม่เกิน 150 – 220 เมตรต่อนาที ความเร็วสูงสุดต้องไม่เกิน 225 – 315 เมตรต่อนาที

ข้อห้ามและข้อระวังของระบบระบายอากาศ

การออกแบบระบบระบายอากาศมีมาตรฐานของห้อง Generator บางประการ เพื่อคงไว้ซึ่งความปลอดภัยสูงสุด ดังนี้

  • การออกแบบระบบระบายอากาศจะต้องให้ภายในห้องเจนเนอเรเตอร์มีความดันเป็นลบเล็กน้อย
  • เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน ประตูทุกบานของห้องเจนเนอเรเตอร์จะต้องปิด เพื่อให้เป็นไปตามระบบที่ได้ออกแบบไว้
  • อุณหภูมิของอากาศที่ไหลเข้าห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผ่านทางเข้าเครื่องกรองอากาศจะต้องไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส
  • อากาศสำหรับระบายความร้อนและใช้สันดาปจะต้องมาจากนอกอาคารโดยตรง และส่งผ่านระบบที่สามารถทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จ่ายให้โหลดระดับ 1
  • ช่องลมออกจะต้องส่งผ่านระบบที่สามารถทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จ่ายให้โหลดระดับ 1
  • สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จ่ายให้โหลดระดับ 1 ห้ามใช้ Shutters หรือ Self – closing devices, Fire damper อื่นๆ ที่ช่องลมเข้าและลมออก
  • ห้ามติดตั้งอุปกรณ์ที่มีการเผาไหม้ภายในห้องเจนเนอเรเตอร์ เพราะมีผลต่อประสิทธิภาพของการระบายอากาศ

ข้อกฎหมายที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้องเจนเนอเรเตอร์

มีข้อกฎหมายที่ต้องรู้บางประการสำหรับการออกแบบห้องเจนเนอเรเตอร์ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

  • อาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูงจะต้องมีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน
  • พื้นที่ติดตั้งห้องเจนเนอเรเตอร์หรือห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าควรอยู่ติดเปลือกอาคารและอยู่ติดห้อง MDB เพื่อความสะดวกในการระบายไอเสียของเครื่องยนต์
  • ต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง

สรุป

ห้องเจนเนอเรเตอร์ ห้องเก็บเสียงเครื่องปั่นไฟ หรือห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นพื้นที่เฉพาะสำหรับอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟสำรอง เป็นสิ่งสำคัญในการรับรองการจ่ายไฟอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ไฟฟ้าดับ เมื่อออกแบบห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การระบายอากาศ ฉนวนกันเสียงห้อง Generator  และมาตรการด้านความปลอดภัย การทำความเข้าใจกฎระเบียบทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกแบบห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ควรเลือกใช้เครื่องปั่นไฟให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากสถานที่และการใช้งานด้วย ซึ่ง Siam Generator มีเครื่องปั่นไฟหลายประเภทและหลายขนาดให้ได้เลือกเพื่อให้ตรงตามความต้องการที่สุด

Facebook
Email
Print