ติดโซลาร์เซลล์ในบ้านดีไหม ควรรู้อะไรบ้าง เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
ในยุคที่พลังงานสะอาด กลายเป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน โซลาร์เซลล์จึงเหมาะกับการติดตั้งในบ้านมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อย่างไรก็ตามก่อนติดตั้งควรรู้อะไร และต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง เพื่อให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า เมื่อติดแล้วต้องดูแลรักษายังไง บทความนี้มีคำตอบ!
บ้านแบบไหนที่ควรติดตั้งโซลาร์เซลล์
โซลาร์เซลล์มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดในช่วงกลางวัน ดังนั้นการใช้พลังงานที่ผลิตได้ทันทีในช่วงเวลานั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องขายไฟฟ้าส่วนเกินกลับไปยังผู้ให้บริการไฟฟ้าซึ่งอาจได้ขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าที่เราซื้อมาก็เป็นได้ ดังนั้นโซลาร์เซลล์ควรติดตั้งบ้านที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
บ้านที่ใช้ไฟบ่อยในตอนกลางวัน
บ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าบ่อยในตอนกลางวันเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะโซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้จากแสงแดดในช่วงเวลานั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านมักจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เช่น การใช้เครื่องปรับอากาศ การทำอาหาร หรือการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ โดยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่บ้านจะช่วยให้สามารถใช้พลังงานที่ผลิตได้ทันที โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากภายนอก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความเป็นอิสระในการใช้พลังงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และส่งเสริมการใช้พลังงานที่ยั่งยืนอีกด้วย
บ้านที่มีค่าไฟ 3,000 บาทขึ้นไป
บ้านที่มีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าต่อเดือนอยู่ที่ 3,000 บาทขึ้นไป เหมาะสมและคุ้มค่าอย่างมากในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน เพราะค่าไฟที่สูงสะท้อนถึงการใช้พลังงานที่เหมาะสมกับกำลังการผลิตของโซลาร์เซลล์ขั้นต่ำ ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มต้นที่ประมาณ 1.8 ถึง 3 กิโลวัตต์ โดยโซลาร์เซลล์ขนาด 1.8 กิโลวัตต์สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ราว 900 ถึง 1,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว
บ้านที่มีพื้นที่สำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์
สิ่งสำคัญสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านคือ เรื่องของพื้นที่ เพราะถือเป็นการใช้พื้นที่ว่างบนหลังคา หรือพื้นที่อื่นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านนั้นมีประโยชน์หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย หรือแม้แต่การส่งเสริมพลังงานยั่งยืน ดังนั้นหากบ้านของคุณมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ การติดตั้งจะเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดทั้งในด้านการเงินและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าสำหรับอนาคต
ติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน ใช้งบประมาณเท่าไร คืนทุนกี่ปี
โซลาร์เซลล์ที่มีกำลังผลิตระหว่าง 2 ถึง 3 กิโลวัตต์สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส สามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 200 ถึง 400 หน่วยต่อเดือน ซึ่งเหมาะสำหรับบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง โดยราคาแผงโซลาร์เซลล์สําหรับบ้านอยู่ที่ประมาณ 170,000 ถึง 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และบริการที่เลือกใช้ สำหรับครอบครัว 4-6 คนที่มีค่าไฟฟ้ารายเดือนอยู่ที่ 3,000 ถึง 7,000 บาท เหมาะสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ ซึ่งจะสามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 2,000 ถึง 3,000 บาทต่อเดือน ด้วยราคาแผงโซลาร์เซลล์สําหรับบ้านอยู่ที่ประมาณ 200,000 ถึง 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่เลือก
นอกจากนี้ยังอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าปรับปรุงโครงสร้าง หรือค่าธรรมเนียมการขออนุญาต สำหรับการคืนทุนของโซลาร์เซลล์บ้านนั้นโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 6-10 ปี ซึ่งหลังจากที่คืนทุนในระยะที่ประมาณไว้แล้วคุณก็จะสามารถใช้ไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านฟรีต่อไปยาวๆ โดยอายุรับประกันอย่างน้อยจะอยู่ที่ 25 ปี ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพหลังจากหมดระยะเวลารับประกัน และค่าบริการตรวจสอบระบบหรือล้างแผง
อุปกรณ์เสริมที่ต้องมี สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน
ในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บ้านนั้นมีอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ควรคำนึงถึงที่ทำหน้าที่ร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายที่สมบูรณ์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่แผงโซลาร์เซลล์เท่านั้น โดยชุดอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ทั้งหมดนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และจัดการพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานในบ้านหรืออาคาร แต่จะมีอุปกรณ์เสริมอะไรบ้าง ไปดูกัน
แผงโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์เซลล์คือ หัวใจของระบบโซลาร์เซลล์บ้านที่ทำงานเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าตรง โดยจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักที่นิยมใช้ ได้แก่ โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline) มีขนาดเล็กลง 10% เหมาะสำหรับพื้นที่จำกัด โพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline) และ Amorphous Thinfilm มีราคาที่เอื้อมถึงได้ง่าย ทั้งยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้แม้ในวันที่มีแสงแดดน้อยหรือมีฝนตกอีกด้วย
เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า
เครื่องแปลงไฟฟ้ามีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) ที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์โซลาร์เซลล์บ้าน เป็นกระแสสลับสำหรับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยมี 2 ประเภทหลักได้แก่ Sine Wave Inverter ที่เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท และ Modified Sine Wave Inverter ที่ใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์หรือมอเตอร์
เครื่องควบคุมการประจุ
เครื่องควบคุมการชาร์จมีการทำงานหลักคือการจัดการกับกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์บ้านเพื่อชาร์จเข้าแบตเตอรี่ โดยปรับปริมาณกระแสให้เหมาะสมกับความจุของแบตเตอรี่ ด้วยการลดกระแสชาร์จ หรือหยุดเมื่อแบตเตอรี่ชาร์จเต็มแล้ว และบางครั้งยังมีการฟังก์ชันตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อแบตเตอรี่มีแรงดันต่ำเกินไปอีกด้วย ทั้งนี้คือเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานและควบคุมการจ่ายกระแสจากแบตเตอรี่นั่นเอง
แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ในระบบโซลาร์เซลล์บ้านทำหน้าที่สำคัญในการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้งานในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เช่น ช่วงกลางคืน หรือในสถานการณ์ที่ต้องการพลังงานสำรอง โดยมีให้เลือกหลายประเภทและขนาดเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน
สายไฟ
สายไฟในระบบโซลาร์เซลล์มีหน้าที่สำคัญในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเพื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์กับเครื่องแปลงไฟฟ้า หรือการเชื่อมต่อไปยังแบตเตอรี่ และระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยสายไฟที่มีคุณภาพดีจะช่วยลดการสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งผ่าน และยังช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟที่เหมาะสม และการติดตั้งอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ฐานยึดเพื่อติดตั้ง
ฐานยึดมีหน้าที่สำคัญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน เพราะเป็นฐานยึดที่ออกแบบมาอย่างดีจะช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งได้อย่างมั่นคงเพื่อรับมือกับสภาพอากาศต่างๆ เช่น ลมแรงหรือฝนตกไม่ว่าจะเป็นหลังคาหรือพื้นที่อื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีมุมที่เหมาะสมเพื่อการรับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
มิเตอร์
มิเตอร์ เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เสริมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน โดยมิเตอร์ในระบบโซลาร์เซลล์จะทำหน้าที่วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิต และใช้งานภายในบ้าน รวมถึงพลังงานที่ส่งกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้าสาธารณะหากมีการผลิตเกินความต้องการใช้งานด้วยการติดตาม และจัดการการอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้มิเตอร์ยังช่วยให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของระบบโซลาร์เซลล์ และประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย
สวิตช์เปิด-ปิดไฟ
สวิตช์เปิด-ปิดไฟในระบบโซลาร์เซลล์ทำหน้าที่ควบคุมการเชื่อมต่อ หรือตัดการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าระหว่างแผงโซลาร์เซลล์กับระบบไฟฟ้าของบ้านเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งช่วยให้สามารถจัดการกับการไหลของกระแสไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย และให้ความสะดวกในการบำรุงรักษาหรือตรวจสอบระบบ ดังนั้นการมีสวิตช์เปิด-ปิดไฟจึงเป็นส่วนสำคัญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
Combiner Box
Combiner Box หรือ ตู้ควบคุม ในระบบโซลาร์เซลล์ทำหน้าที่รวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์หลายๆ แผงเข้าด้วยกันก่อนส่งไปยังเครื่องแปลงไฟฟ้าอย่างมีระเบียบและปลอดภัย นอกจากนี้ Combiner Box ยังมีหน้าที่ป้องกันระบบจากการลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าสูงเกินไปซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านเช่นกัน
Grounding equipment
อีกสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน คือ Grounding Equipment หรือ ระบบสายดิน ด้วยการสร้างเส้นทางสำหรับกระแสไฟฟ้าที่ไม่พึงประสงค์ให้ไหลลงสู่ดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟกระชาก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการได้รับบาดเจ็บจากไฟฟ้าช็อต และป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
ดูแลรักษาโซลาร์เซลล์ในบ้านอย่างไร ให้ใช้งานได้นาน
การบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์บ้านคือ กระบวนการที่จำเป็นเพื่อรักษาประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้คงที่และยืดอายุการใช้งานของระบบ ซึ่งในการเปรียบเทียบกับระบบผลิตไฟฟ้าอื่นๆ จะพบว่าโซลาร์เซลล์มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำกว่าอย่างมาก โดยมีการบำรุงรักษาปกติจะรวมถึงการตรวจสอบและการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ด้วยน้ำที่ไม่มีสิ่งปนเปื้อนทุก 6 เดือน หากพบคราบสกปรกให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำสะอาดเช็ดออก แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้แปรงที่ทำจากโลหะหรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อแผงโซลาร์เซลล์
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีรอยแตกหรือร่องรอยของน้ำซึมเข้าไปในแผง และไม่มีสิ่งใดบังแสงที่แผงเซลล์
- ตรวจสอบสายไฟและการเชื่อมต่ออย่างสม่ำเสมอเพื่อหาสัญญาณของความเสียหาย เช่น รอยร้าว รอยแตก การกัดกร่อน หรือรอยไหม้ และควรตรวจสอบสายดินให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพดี โดยเฉพาะก่อนเข้าสู่ฤดูมรสุมที่อาจมีฝนตกหนัก
- ทำความสะอาดเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและระบบควบคุมเป็นประจำเพื่อป้องกันฝุ่นสะสมที่อาจทำให้เกิดความร้อนสูงและเสียหาย ด้วยการใช้ผ้าแห้งในการเช็ดทำความสะอาดเพื่อลดความเสี่ยงจากความชื้นที่อาจทำให้เกิดการลัดวงจร
- ตรวจสอบกล่องควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแมลงหรือสัตว์ทำรังซึ่งอาจทำให้ระบบเกิดปัญหา และหากพบสายไฟหลุดหรือความเสียหายอื่นๆ ควรดำเนินการแก้ไขทันที
- ตรวจหารอยร้าวหรือความเสียหายบนตัวแบตเตอรี่ และการกัดกร่อนที่ขั้วต่อด้วย เพื่อรักษาประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
สรุป
หากสงสัยว่าโซลาร์เซลล์ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง สามารถบอกได้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านนั้นมีประโยชน์หลายประการ ซึ่งนอกจากการลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าไฟฟ้าระยะยาวภายในบ้านได้แล้ว ยังช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และส่งเสริมการใช้พลังงานที่สะอาดอย่างยั่งยืนอีกด้วย แต่ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านก็มีอุปกรณ์ที่จำเป็น ซึ่งแต่ละอย่างจะทำหน้าที่ที่แตกต่างกันไปเพื่อความปลอดภัย และมั่งคงในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านไม่ว่าจะเป็นแผงโซลาร์เซลล์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ระบบควบคุมการชาร์จ (Charge Controller) แบตเตอรี่ สายไฟ ฐานยึด และอื่นๆ
สำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน Siam Generator ผู้นำด้านการติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วยแบรนด์ชั้นนำจากต่างประเทศ ที่มาพร้อมกับบริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ครบวงจร ตั้งแต่การประเมินความเหมาะสมของสถานที่ การหาอุปกรณ์ ไปจนถึงการติดตั้งและการบำรุงรักษา พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการพลังงานในบ้านของคุณ