ไฟตกเกิดจากอะไร? ส่งผลกระทบได้มากมาย และวิธีแก้ไขปัญหาไฟตก

ทำความรู้จัก ไฟตก คืออะไร?

ทำความรู้จัก ไฟตก คืออะไร?

ไฟตก คือ ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง โดยปกติแล้วแรงดันไฟฟ้าที่ส่งกระแสไฟไปตามบ้านต่างๆ จะอยู่ที่ 230 V เมื่อกระแสไฟฟ้าลดลงหรือต่ำกว่า 220 V อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้แรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอ ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรก็ตามภายในบ้านทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงานในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดได้ อย่างเช่น พัดลมหมุนช้าลงหรือหลอดไฟกระพริบ มีความสว่างลดลง หรือไฟช็อตขณะเสียบปลั๊กไฟ ซึ่งหากไฟตกบ่อยครั้งอาจจะเป็นเหตุทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรจนเกิดเหตุไฟไหม้ได้

สาเหตุของไฟตก เกิดจากอะไร

สาเหตุของไฟตก เกิดจากอะไร

ไฟตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าขัดข้องเสมอไป แล้วไฟตกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ไปหาคำตอบกันได้เลย

1. ไฟตกจากสภาพอากาศ

ไฟตกอาจจะเกิดได้จากภัยธรรมชาติอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดลมแรง หรือเกิดพายุ ที่อาจจะส่งผลให้ลมพัดต้นไม้หรือกิ่งไม้ไปพาดบริเวณสายไฟ จึงก่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตก ฟ้าผ่าลงบริเวณเสาไฟฟ้า กระทบถึงหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดค่าความชื้นในอากาศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ฝนตก ส่งผลให้ระบบไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพ

2. ไฟตกจากตัวนำไฟฟ้าขัดข้อง

หากตัวนำไฟฟ้าขัดข้องหรือเกิดการช็อต อาจส่งผลให้ไฟตกได้ เพราะทองแดงเป็นส่วนหนึ่งของตัวนำไฟฟ้า ซึ่งมีค่าการนำไฟฟ้าที่สูงและมีความทนทาน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในบ้านอีกด้วย

3. ไฟตกจากกระแสไฟรั่ว

หากถามว่าไฟตกเกิดจากอะไรได้อีก ตอบเลยว่าเกิดจากกระแสไฟรั่วได้เช่นกัน เพราะ ไฟรั่ว คือ ไฟฟ้าที่ไหลออกมาจากโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไหลออกจากวงจรไฟฟ้าไปยังผิวของสายไฟฟ้า อาจเกิดจากการติดตั้งสายไฟผิดวิธีหรือติดตั้งอย่างไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงขาดการตรวจสอบพร้อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าและฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานมีการเสื่อมสภาพ

4. ไฟตกจากไฟกระชาก

ไฟกระชาก เกิดจากแรงดันไฟฟ้าที่ส่งมายังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ อย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งแรงดันไฟฟ้านั้นขาดเสถียรภาพการใช้งาน จึงส่งผลให้เกิดไฟตก ไฟกระพริบภายในบ้านนั่นเอง

ไฟตกจากสายไฟชำรุด

5. ไฟตกจากสายไฟชำรุด

สายไฟชำรุด เป็นสายไฟที่มีอายุการใช้งานที่นานแล้ว ย่อมทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟละลายและขาด รวมถึงทองแดงในสายไฟที่งอ เพราะมีการใช้งานสายไฟแบบงอสาย จึงส่งผลให้เกิดไฟตกได้ ทั้งนี้ควรดูแลรักษาสภาพของสายไฟให้ดี เพื่อไม่เกิดเหตุการณ์ไฟตก

6. ไฟตกเพราะกระแสไฟไหลลงดิน

กระแสไฟไหลลงดิน เกิดขึ้นจากฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้ามีการเสื่อมสภาพหรือมีการติดตั้งสายไฟผิดวิธี ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดไฟตกได้ ทั้งนี้ภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วม ก็อาจเกิดกระแสไฟไหลลงดินได้เช่นกัน

7. ไฟตกเพราะบ้านอยู่ไกลสถานีจ่ายไฟ

บ้านอยู่ไกลจากสถานีจ่ายไฟ ทำให้ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ จึงส่งผลให้ระบบไฟฟ้าภายในบ้านส่งกระแสไฟฟ้าไม่ทัน เป็นเหตุที่ทำให้เกิดไฟตก ทั้งนี้บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยควรอยู่ใกล้สถานีจ่ายไฟในระยะห่างที่มีความเหมาะสม เพื่อให้แรงดันในการส่งกระแสไฟปกติและมีความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน

8. ไฟตกเพราะมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไป

หากมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเตารีด ไมโครเวฟเครื่องทำน้ำอุ่น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรก็ตามที่กินไฟสูง และถูกเปิดพร้อมกัน อาจทำให้แรงดันไฟฟ้าตก จากการส่งกระแสไฟจากแรงดันไฟฟ้าทำงานแบบไม่เต็มกำลังไฟ จึงก่อให้เกิดไฟตกได้

9. ไฟตกเพราะแย่งไฟฟ้ากันใช้

หากหลายๆ บ้าน ที่อยู่ใกล้กันหรืออยู่ในระแวกเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านหรือชุมชน มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น เตารีด หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้สถานีจ่ายไฟไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ทันที จึงก่อให้เกิดไฟตกได้

ไฟตกส่งผลต่ออะไรบ้าง?

ไฟตกส่งผลต่ออะไรบ้าง?

รู้กันไปแล้วว่า ไฟตกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ต่อไปมาดูกันว่าผลกระทบจากไฟตกจะมีอะไรบ้าง

1. ไฟตก ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย

เมื่อไฟตกบ่อยครั้ง จึงทำให้แรงดันไฟฟ้าตก ทำให้ระบบไฟฟ้าเกิดความเสียหาย รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่อาจมีความเสียหายด้วย เมื่อแรงดันไฟฟ้าตก เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจึงหยุดทำงานชั่วคราว เช่น ปั๊มน้ำไม่ทำงาน หรือกระแสไฟฟ้าภายในบ้านเกิดการขัดข้อง จึงทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่สามารถที่จะดึงไฟมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น พัดลมหมุนช้าลงหรือหลอดไฟส่องสว่างน้อยลง

2. ไฟตก เสี่ยงให้เกิดไฟไหม้ได้

นอกจากไฟตกจะส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงานในระยะเวลาสั้นๆ แล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดไฟช็อตในระหว่างที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ อาจจะเป็นเหตุทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร จนเกิดเหตุไฟไหม้ได้

3. ไฟตก ส่งผลเสียกับโรงงาน

วิธีแก้ไฟตกและการป้องกันไม่ให้ไฟตกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงงานอยู่เป็นประจำ หรือติดตั้งระบบสำรองไฟ ซึ่งโรงงานในปัจจุบัน ต่างนิยมใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัย มาใช้ในการควบคุมและกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งหากมีความผิดปกติของระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน อาจส่งผลกระทบกับโรงงาน ดังนี้

  • การทำงานของคอมพิวเตอร์เกิดการหยุดชะงัก ซึ่งไฟล์งานบางส่วนอาจหายไปได้

  • อุปกรณ์การควบคุมกระบวนการผลิตต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย

  • การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ลดลง

4. ไฟตก ส่งผลกระทบต่อยอดขาย

นอกจากไฟตกจะส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเสียหายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อยอดขาย ดังนี้

  • เมื่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเสียหายหรือขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง

  • ออเดอร์ที่ถูกผลิตขึ้นช้า เพราะไฟตก ทำให้การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้ามีความช้าไปด้วย ซึ่งอาจทำให้โรงงานมีความน่าเชื่อถือลดลง เป็นเหตุให้ยอดขายของสินค้าลดลงไปด้วย

5. ไฟตก ผลกระทบต่อโรงพยาบาล

ไฟตก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลด้วย ดังนี้

  • ขัดขวางการทำงานของแพทย์ในขณะที่กำลังรักษาผู้ป่วย

  • เครื่องมือแพทย์มีการเสียหายหรือชำรุด

  • เครื่องมือแพทย์มีราคาที่สูง หากเสียหายหรือชำรุด ก็ต้องนำเงินไปซื้อเครื่องมือแพทย์อันใหม่

  • เครื่องมือแพทย์หยุดทำงานชั่วคราว ส่งผลให้แพทย์ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งหากไฟตกในขณะที่เป็นเหตุฉุกเฉิน อาจทำให้ผู้ป่วยที่กำลังรักษาเสียชีวิตลงได้ เช่น การผ่าตัด การรักษาผู้ป่วยในห้อง ICU

ดังนั้น โรงพยาบาลต้องมีการป้องกันไฟตกอย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ต้องมีระบบสำรองไฟนั่นเอง เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายแก่อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องมือแพทย์

วิธีแก้ปัญหาไฟตก ทำได้อย่างไร?

วิธีแก้ปัญหาไฟตก ทำได้อย่างไร?

สำหรับหลายๆ บ้านที่มีปัญหาเรื่องไฟตกบ่อยครั้ง มาดูกันได้เลยว่าจะสามารถป้องกันและแก้ปัญหาไฟตกได้อย่างไร

1. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน

ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีฉลากที่ยืนยันคุณภาพหรือมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ ซึ่งจะมีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ป้องกันอันตรายจากแรงดันไฟฟ้าตกไปจนถึงไฟฟ้าลัดวงจร เช่น สายชาร์จโทรศัพท์มือถือ ปลั๊กพ่วง หรือสายไฟต่างๆ

2. ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งาน

การเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่เสมอ ซึ่งการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากไฟตกได้ หรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูงและใช้งานในช่วงเวลาที่พร้อมกัน เช่น เตารีด เตาไมโครเวฟ เพื่อป้องกันแรงดันการส่งกระแสไฟที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดไฟตกได้เช่นกัน

3. ตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ

สาเหตุหนึ่งของการเกิดไฟตก ก็อาจจะมีจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดหรือขัดข้อง จึงควรตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอหรือเป็นประจำ ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ หากพบปัญหาหรือความผิดปกติของการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้หยุดใช้งานทันที และให้ช่างที่มีความชำนาญมาดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขอย่างโดยด่วน

4. ไม่ใช้สายไฟที่ชำรุด

สายไฟภายในบ้านนั้นเสี่ยงต่อการถูกหนูกัด หากพบว่าสายไฟมีรอยที่ถูกหนูกัด หรือปลอกสายไฟมีอายุการใช้งานที่นานแล้ว ทำให้ปลอกสายไฟเสื่อมสภาพหรือชำรุด ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีสายไฟชำรุด แล้วรีบเรียกช่างให้มาทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่ทันที

5. ติดตั้งเครื่องสำรองไฟ

การติดตั้งเครื่องสำรองไฟ จะช่วยให้ไม่เกิดผลกระต่อหรือความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเกิดปัญหาไฟตก และสามารถป้องกันการเกิดไฟช็อต ที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ได้อีกด้วย รวมถึงการเกิดภัยทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นฝนตก น้ำท่วมหรือฟ้าผ่า ที่เป็นสาเหตุของการเกิดกระแสไฟฟ้าไหลลงดิน จนอาจทำให้ไฟตกได้ ซึ่งวิธีการป้องกันการเกิดไฟตก โดยการติดตั้งเครื่องสำรองไฟ ไม่ได้ช่วยป้องกันได้แค่บ้านเรือนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการช่วยป้องกันไฟตกที่โรงงาน โรงพยาบาล หรือพื้นที่ที่ต้องการป้องกันไฟตกทุกที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่อยากติดตั้งเครื่องสำรองไฟ ที่ Siam Generator มีเครื่องสำรองไฟหลายยี่ห้อ ใช้ได้กับทั้งที่บ้าน โรงงาน โรงพยาบาล หรือบริษัทที่ต้องการสำรองไฟ เพื่อเป็นการป้องกันไฟตก ทั้งนี้ที่ Siam Generator มีฐานโรงงานประกอบเครื่องสำรองไฟ ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย ตามการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001  และมีความปลอดภัยสูง พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าอยู่เสมอ โดยทีมเจ้าหน้าที่เซอร์วิสที่คอยดูแลเรื่องการติดตั้งและบริการหลังการขายทั่วประเทศไทย

สรุป

ไฟตก คือ ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระบบไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อกระแสไฟฟ้าลดลงหรือต่ำกว่า 220 V อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้แรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอ ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงานในระยะเวลาสั้นๆ ไฟตก ไฟกระพริบ มีหลายสาเหตุ ได้แก่ สภาพอากาศ ตัวนำไฟฟ้าขัดข้อง กระแสไฟรั่ว ไฟกระชาก สายไฟชำรุด กระแสไฟไหลลงดิน บ้านอยู่ห่างไกลจากสถานีจ่ายไฟ มีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไป หรือแย่งไฟฟ้ากันใช้ในระแวกใกล้เคียง ซึ่งผลกระทบจากไฟตกอาจส่งผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ได้ เช่น สร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการควบคุมและกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง การจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าจึงมีความช้าไปด้วย ซึ่งอาจทำให้โรงงานมีความน่าเชื่อถือลดลง เป็นเหตุให้ยอดขายของสินค้าลดลงไปด้วย หรือส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาล ที่อาจทำให้เครื่องมือแพทย์มีความเสียหายหรือชำรุดและเครื่องมือแพทย์หยุดทำงานชั่วคราว ส่งผลให้แพทย์ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งถ้าหากไฟตกในขณะที่เป็นเหตุฉุกเฉิน อาจทำให้ผู้ป่วยที่กำลังรักษาเสียชีวิตลงได้

Facebook
Email
Print