ทำความรู้จัก เครื่องกำเนิดไฟ (Generator) คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง

เครื่อง Generator คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ตอบโจทย์ธุรกิจต่างๆ ในยุคปัจจุบัน และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในสถานประกอบการของภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากมีความสำคัญมากในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟฟ้าดับ หรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น

มาทำความรู้จักและเรียนรู้ว่าเครื่อง generator คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง รวมไปถึงการดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จัก เครื่อง Generator คืออะไร

ทำความรู้จัก เครื่อง Generator คืออะไร

เครื่อง Generator คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะ เรียกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เครื่องปั่นไฟหรือไดปั่นไฟ โดยลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะเป็นเครื่องสำรองไฟ ที่จะจ่ายกระแสไฟไปยังจุดต่างๆ ที่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ซึ่งเครื่องนี้จะทำงานทันทีเมื่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้าหลักเกิดเหตุขัดข้อง โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าถือเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความสําคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่อง Generator จะใช้หลักการของ ไมเคิล ฟาราเดย์ ที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อขดลวดเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดผ่านขดลวดซึ่งอยู่กับที่ จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น” ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เป็นปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีการอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้ มักจะมีความหลากหลายในการกำหนดค่าไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ในกรณีที่แตกต่างกันไป

เครื่องกำเนิดไฟ (Generator) มีส่วนประกอบกี่ส่วน?

เครื่องกำเนิดไฟ (Generator) มีส่วนประกอบกี่ส่วน?

ส่วนประกอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีอยู่ด้วยกัน 6 ส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • เครื่องยนต์ ส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เนื่องจากเครื่องยนต์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมด ที่จะแปลงเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ และช่วยให้เชื้อเพลิงเคลื่อนที่หรือทำหน้าที่ทางกล โดยขนาดของเครื่องยนต์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำลังขับสูงสุดที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • ระบบเชื้อเพลิง ระบบเชื้อเพลิงประกอบด้วย ถังเก็บเชื้อเพลิงที่มีปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังผ่านท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วส่งไปยังเครื่องยนต์ เพื่อเป็นพลังงานให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ การทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ที่จะเปลี่ยนพลังงานกลที่เกิดจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า เกิดเป็นกระแสไฟฟ้าคงที่ซึ่งเหมาะสำหรับกับการใช้งานจริง
  • ระบบทำความเย็น ระบบทำความเย็นจะช่วยป้องกันความร้อนที่สูงเกินไป และควบคุมอุณหภูมิของส่วนประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระหว่างการใช้งาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าบางตัวอาจใช้พัดลม สารหล่อเย็น หรือทั้งสองอย่างเพื่อควบคุมอุณหภูมิที่สูงจนเกินไป
  • ไอเสีย เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน มักจะมีสารเคมีที่ปล่อยออกมาเป็นไอ ซึ่งมีความอันตรายอย่างมาก การติดตั้งระบบไอเสียจึงมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถกำจัดก๊าซไอเสียได้
  • ระบบหล่อลื่น การเคลื่อนไหวของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่คล่องตัวจึงต้องใช้การหล่อลื่นด้วยน้ำมัน ซึ่งควรตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นทุก 8 ชั่วโมง และเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 500 ชั่วโมงของการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อยืดเวลาในการทำงาน แลเพื่อประสิทธิภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • ชุดควบคุม ชุดควบคุมจะประกอบไปด้วย
    • 1) การสตาร์ทและปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ
    • 2) มาตรวัดของเครื่องยนต์ เช่น ความเร็วในการหมุนของเครื่องยนต์ แรงดันของสารหล่อเย็น แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่
    • 3) มาตรวัดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับการวัดความถี่ในการทำงาน กระแสและแรงดันไฟฟ้าขาออก
    • 4) สวิตช์ควบคุมเครื่องยนต์และอื่นๆ
  • โครงครอบลดเสียงแบบสำเร็จรูป (Generator silent type) โครงครอบลดเสียงแบบสำเร็จรูป ใช้สำหรับลดเสียงในขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นทำงานอยู่ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความเงียบสงบในการทำงาน

เครื่อง Generator มีกี่แบบ?

เครื่อง Generator มีกี่แบบ?

เครื่อง Generator หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นมี 2 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบสามารถนำไปใช้งานได้ในเชิงที่ต่างกัน

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระแสตรง

เครื่องกําเนิดไฟฟ้ากระแสตรง คือเครื่องกลที่กระแสไฟขาออกจะถูกเหนี่ยวนำในโรเตอร์เท่านั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงมีตัวสับเปลี่ยน เนื่องจากกระแสไหลไปในทิศทางเดียวเท่านั้น อาจทำให้เกิดประกายไฟและการสูญเสียอื่นๆ เช่น การสูญเสียทองแดง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจึงมีประสิทธิภาพน้อยกว่า จึงมักใช้เพื่อสร้างแรงดันไฟฟ้าต่ำ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระแสสลับ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือเครื่องกลที่กระแสไฟขาออกสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดได้ ทั้งในโรเตอร์หรือในสเตเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีตัวสับเปลี่ยน กระแสไฟฟ้ากลับทิศทางเป็นระยะ ทำให้มีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากการสูญเสียพลังงานน้อยลง และมีประโยชน์ในการสร้างแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก

ขนาดของเครื่อง Generator

ขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบ่งได้ตามการนำไปใช้งาน ดังนี้

  • ขนาดเล็ก – กลาง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ในปริมาณ <1 kVA – 20 kVA และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดกลาง มีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 50 kVA – 2500 kVA นิยมใช้ในอาคารที่พักอาศัยหรือตามไซต์งานก่อสร้าง
  • ขนาดใหญ่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 50 kVA – 100 kVA ขึ้นไป นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โรงพยาบาล โรงแรม หรืออาคารสูง

ประโยชน์ของเครื่อง Generator

ประโยชน์ของเครื่อง Generator

เครื่อง Generator นั้นมีประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าไปจนถึงเป็นพลังงานสำรอง

ใช้ผลิตไฟฟ้าให้ที่ห่างไกล

สำหรับพื้นที่ห่างไกล มักมีปัญหาในเรื่องไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เครื่อง generator หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ในลักษณะนี้ เพราะสามารถช่วยให้คนในพื้นที่นั้นมีไฟฟ้าใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ประหยัดพลังงาน

ด้วยช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ทำให้มีการพัฒนารูปแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากการนำน้ำมันที่มีต้นทุนสูงมาใช้ เปลี่ยนมาเป็นการใช้พลังงานอื่นๆ ที่มีต้นทุนถูกขึ้นมาใช้ เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ หรือพลังงานจากแก๊สธรรมชาติ

เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง

ประโยชน์หลักๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือระบบไฟฟ้าสำรอง ที่ใช้ได้ทันทีในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ระบบไฟขัดข้อง ไฟดับ หรือเหตุอื่นๆ ที่ไม่อาจใช้ไฟฟ้าได้ ซึ่งการมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะช่วยยืดเวลาการใช้งานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าต่อไปได้ อีกทั้งยังเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงมีการติดตั้งในโรงงานใหญ่หรือโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่

การดูแลรักษาเครื่อง Generator

การดูแลรักษาเครื่อง Generator

เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานได้อย่างยาวนาน และยังคงคุณภาพไว้ต่อไป จึงควรมีการดูแลรักษาเครื่อง Generator ให้ถูกวิธี ดังนี้

ทำการปิดสวิตซ์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟของเครื่อง Generator

ต้องปิดสวิตซ์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟของเครื่อง Generator ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์ ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดเองได้ในขณะที่กำลังตรวจเช็ก

ทำความสะอาดเครื่อง Generator

ทำความสะอาดเครื่อง Generator หลังจากการใช้งานเสมอ โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งในส่วนของหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอก เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเพื่อเป็นการลดอุณหภูมิของตัวเครื่องด้วย

ตรวจสอบ เมื่อมีการใช้งานไปในระยะเวลา 20 ชั่วโมง

เมื่อมีการใช้งานไปในระยะเวลา 20 ชั่วโมง ให้ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ใช้ผ้าแห้งเช็ดหม้อน้ำกลั่น ในส่วนของบริเวณสายไฟหรือขั้วต่อ ควรหมุนให้แน่นหลังจากการใช้งานทุกครั้ง และในส่วนของสายพานควรใส่น้ำมันหล่อลื่นทุกครั้งหลังการใช้งาน

ตรวจสอบทุก 3 เดือน หรือเมื่อใช้งานไปได้ในระยะเวลา 250 ชั่วโมง

เมื่อใช้งานไปได้ในระยะเวลา 250 ชั่วโมงหรือทุก 3 เดือน ควรตรวจสอบสภาพน็อต ท่อสายยาง และเหล็กรัดท่อของตัวเครื่อง หรือหากมีส่วนใดชำรุดให้มีการเปลี่ยนทันที ซึ่งควรเปลี่ยนไส้กรองของน้ำมันหล่อลื่น และทำการถ่ายน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องเสมอ

ตรวจสอบทุก 6 เดือน หรือเมื่อใช้งานไปได้ในระยะเวลา 500 ชั่วโมง

เมื่อใช้งานไปได้ในระยะเวลา 500 ชั่วโมงหรือทุก 6 เดือน จะต้องมีวิธีการดูแลรักษา วึ่งก็คือทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ และไส้กรองเชื้อเพลิงของเครื่อง Generator

ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง Generator

ในการใช้เครื่อง Generator ควรคำนึงถึงข้อควรระวังในการใช้ด้วยทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

  • ไม่ควรใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหนักเกินไป หรือเกินพิกัดที่ระบุไว้ในแผ่นป้าย (Name Plate)
  • ผู้ควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าควรมีความรู้ที่เพียงพอในการดูแลรักษา และการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
  • ควรตรวจสอบระบบสายไฟและสภาพของฉนวนหุ้มสายไฟอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดไฟช็อต
  • ห้ามเปิด-ปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อยๆ โดยไม่จำเป็น
  • ควรเก็บถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในที่ปลอดภัย
  • ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความถี่ทางไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่เสมอ
  • ควรตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์ในขณะจ่าย Load
  • ควรมีผู้ดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังทำงานอยู่ ไม่ควรปล่อยให้เครื่องทำงานโดยไม่มีคนควบคุม
  • ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นจะต้องเดินสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล
  • ทุกๆ ครั้งในการตรวจซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องปิดเครื่องก่อน เพื่อป้องกันการพลาดพลั้งที่อาจเป็นอันตรายได้

เครื่อง Generator คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเครื่องปั่นไฟ โดยเครื่องนี้ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสถานประกอบการทางอุตสาหกรรมต่างๆ เครื่อง Generator มีอยู่ 2 แบบ คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระแสตรง ที่มีกระแสไหลไปในทิศทางเดียวเท่านั้น กระแสไฟขาออกจะถูกเหนี่ยวนำในโรเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสไฟฟ้ากลับทิศทางเป็นระยะ กระแสไฟขาออกสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดได้ทั้งในโรเตอร์หรือในสเตเตอร์ โดยเครื่อง Generator นั้น มีประโยชน์ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า ประหยัดพลังงาน และเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง ทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานมีความปลอดภัย และสามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงการดูแลรักษาและข้อควรระวังในการใช้เครื่อง Generator ด้วย

หากสนใจซื้อเครื่อง Generator สามารถมาดูได้ที่ Siam Generator เพราะเรามีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายแบบ หลายขนาดให้ได้เลือก และเป็นเครื่องที่มีมาตรฐานทั้งหมด โดยทาง Siam Generator พร้อมให้คำปรึกษาก่อนซื้อ มีบริการในการติดตั้ง และตรวจเช็กเครื่องได้เมื่อมีปัญหาหลังจากมีการซื้อไปแล้ว

Facebook
Email
Print