UPS มีกี่แบบ? อุปกรณ์ป้องกันไฟตก เลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสม


เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่เป็นประจำทุกวัน แต่ก็ต้องเจอกับปัญหาไฟตกบ่อย ไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างแน่นอน หากกำลังมองหาอุปกรณ์ป้องกันไฟตก แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับการใช้งาน บทความนี้จะพาไปดูว่า UPS มีกี่แบบ มีอะไรบ้าง แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อจำกัดยังไง แล้วจะเลือกใช้แบบไหนดี ไปดูกันเลย!

UPS คืออะไร

UPS (Uninterruptible Power Supply) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเรียกได้ว่า UPS ก็คือเครื่องสำรองไฟนั่นเอง UPS จึงเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะกักเก็บไฟฟ้าสำรองเอาไว้ เพื่อใช้ในเวลาที่จำเป็นหรือในเวลาฉุกเฉิน เช่น ไฟตก ไฟฟ้าดับ ไฟกระชาก หรือความขัดข้องทางไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรือหม้อแปลงมีปัญหา จนทำให้ไฟฟ้าถูกตัด แต่อุปกรณ์ UPS จะทำหน้าที่ปรับแรงดันและจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติในระดับที่เหมาะสมแก่เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ สามารถทำงานต่อไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยหลักการทำงาน UPS จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ อย่างเช่น ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัง เสียหาย เกิดการช็อต หรือใช้งานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจส่งผลต่อข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ที่อาจสูญหายไปจนกู้กลับมาไม่ได้ UPS จึงเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก

UPS มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

UPS มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร?

UPS เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะกักเก็บไฟสำรองเอาไว้เพื่อใช้ในเวลาฉุกเฉิน แล้ว UPS มีกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อจำกัดอย่างไร เพื่อให้การเลือกใช้งานมีความเหมาะสมสมที่สุด จึงต้องรู้จักประเภทของ UPS ซึ่งมีดังนี้ 

1. Standby / Offline UPS

UPS แบบ Standby / Offline UPS คือ เครื่องสำรองไฟแบบออฟไลน์ เป็นประเภทที่ใช้งานง่าย ราคาถูก แต่หลักการทำงานของเครื่อง จะทำงานเมื่อเกิดเหตุไฟดับเท่านั้น โดยอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะได้รับพลังงานผ่านทาง Input Power ซึ่ง UPS จะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อไฟฟ้าดับ 

การใช้งาน Standby / Offline UPS

UPS แบบ Standby / Offline UPS สามารถใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบ entertainment ภายในบ้าน และอุปกรณ์ภายในสำนักงานขนาดเล็ก

ข้อดีของ Standby / Offline UPS

  • ราคาถูกที่สุด 

  • สามารถติดตั้งได้ง่าย มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน 

  • มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้อย่างสะดวก 

  • มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากไม่ได้เปิดเครื่องชาร์จอย่างต่อเนื่อง 

ข้อจำกัดของ Standby / Offline UPS

  • หลักการทำงานของเครื่อง คือทำงานเมื่อเกิดเหตุไฟดับเท่านั้น 

  • มีอายุการใช้งานที่สั้น

  • ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งานในพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งผลิตไฟฟ้า เนื่องจากมีความผันผวนของกระแสไฟฟ้าสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ได้ 

  • มีระยะเวลาการถ่ายโอนที่จำกัดจากแหล่งจ่ายไฟหลักไปยังอินเวอร์เตอร์

2. Line-Interactive UPS

UPS แบบ Line-Interactive คือ เครื่องสำรองไฟที่พัฒนามาจากประเภท Offline UPS ซึ่งมีตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ จึงช่วยควบคุมความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ สามารถช่วยลดการเกิดไฟกระชากต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเกิดปัญหาไฟตก จึงเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้

การใช้งาน Line-Interactive UPS

UPS แบบ Line-Interactive สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และระบบ POS

ข้อดีของ Line-Interactive UPS

  • มีอายุการใช้งานที่นานกว่าประเภท Offline UPS 

  • ราคาอยู่ในระดับปานกลาง สามารถใช้งานได้ในทุกพื้นที่ 

  • มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้อย่างสะดวก 

ข้อจำกัดของ Line-Interactive UPS

  • ไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องของความถี่ไฟฟ้า ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับแรงดันไฟฟ้า 

  • ไม่เหมาะกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความไวต่อคุณภาพกระแสไฟฟ้า 

3. Online UPS

UPS แบบ Online UPS หรือ UPS True Online คือ เครื่องสำรองไฟที่ให้การปกป้องพลังงานระดับสูงที่สุด มีราคาสูง แต่มีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่า UPS ประเภทอื่นๆ โดยมีหลักการทำงานคือแปลงไฟ AC ขาเข้าเป็นไฟ DC แล้วแปลงกลับไปเป็นไฟ AC อย่างต่อเนื่อง เพื่อจ่ายไฟ และมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของไฟฟ้า ทำให้สามารถรับมือกับทุกปัญหาการจ่ายไฟฟ้าได้ โดยไม่กระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

การใช้งาน Online UPS

UPS แบบ Online UPS สามารถใช้งานได้กับศูนย์ข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์การแพทย์และห้องปฏิบัติการ

ข้อดีของ Online UPS

  • สามารถป้องกันความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าได้ทุกแบบ 

  • ไม่จำเป็นต้องปิดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเมื่อต้องการตรวจสอบระบบการทำงาน 

  • มีการถ่ายโอนพลังงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ 

  • อินเวอร์เตอร์เปิดตลอดเวลา คุณภาพของแรงดันไฟไม่มีความผิดเพี้ยน

ข้อจำกัดของ Online UPS

  • มีราคาสูง 

  • มีระบบที่ซับซ้อน การติดตั้งจึงมีความยาก และยังยากต่อการขนย้าย เนื่องจากอุปกรณ์ประเภทนี้มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก

4. D-C UPS

UPS แบบ D-C UPS (Delta Conversion UPS) เป็นเครื่องสำรองไฟที่มีการผสมผสานระหว่างแบบ Online UPS และ Line-Interactive คือ มีการใช้กระบวนการแปลงสามขั้นตอน ซึ่งรวมถึงการแปลงไฟ AC ขาเข้าเป็นไฟ DC จากนั้นเป็นไฟ AC ที่มีความถี่ต่างกัน สุดท้ายจึงกลับไปเป็นความถี่ไฟ AC มาตรฐาน

การใช้งาน D-C UPS

UPS แบบ D-C UPS สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความละเอียดอ่อน หรือนำไปใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม

ข้อดีของ D-C UPS

  • มีความสามารถในการปรับสภาพสำหรับอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อน 

  • มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงเมื่อเทียบกับ Online UPS 

  • ถ้าระบบที่เอาไว้ต่ออุปกรณ์พ่วงเป็นระบบไฟฟ้า DC  จะทำให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่สำรองจากแบตเตอรี่ได้โดยตรงเลย ซึ่งไม่ต้องสูญเสียพลังงานในการแปลงไฟฟ้า

ข้อจำกัดของ D-C UPS

  • กำลังไฟฟ้าของวงจรเรียงกระแสจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องจ่ายไฟให้กับอินเวอร์เตอร์และชาร์จแบตเตอรี่ด้วย

5. CVT UPS

UPS แบบ CVT หรือที่รู้จักในชื่อหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าคงที่ เป็น UPS ประเภทพิเศษที่ใช้หม้อแปลงเฟอร์โรเรโซแนนท์ โดยจะรักษาแรงดันไฟฟ้า Output ให้คงที่ แม้ว่าแรงดันไฟฟ้า Input จะแปรผันก็ตาม CVT ให้การควบคุมแรงดันไฟฟ้าและการป้องกันไฟกระชากในระดับหนึ่ง ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่เฉพาะด้าน

การใช้งาน CVT UPS

UPS แบบ CVT สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์อุตสาหกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ละเอียดอ่อน หรือเหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัย

ข้อดีของ CVT UPS

  • มีความสามารถในการระงับเสียงรบกวนที่ดี

ข้อจำกัดของ CVT UPS

  • ประสิทธิภาพตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าเฟอร์โรอยู่ในช่วง 75% ถึง 85% จากการเปรียบเทียบ กับหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไปที่จะมีประสิทธิภาพ 90%

6. Modular UPS

UPS แบบ Modular เป็น UPS ที่ปรับขนาดได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือถอดโมดูลพลังงานได้ตามความต้องการ โดยทั่วไปแล้วโมดูลพลังงานแต่ละโมดูลจะมีแบตเตอรี่และอินเวอร์เตอร์ในตัวเอง มีความเสถียรในการสำรองไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ไฟฟ้ามีปัญหา และเป็นระบบที่นิยมสำหรับองค์กรที่ต้องการการขยายหรือลดขนาดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบการใช้งาน

การใช้งาน Modular UPS

UPS แบบ Modular สามารถใช้งานได้กับสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคมและเครือข่าย

ข้อดีของ Modular UPS

  • ใช้งานง่าย ติดตั้งง่าย 

  • มีความพร้อมในการใช้งานสูงและบำรุงรักษาได้ง่าย

  • มีความยืดหยุ่นและปรับขยายได้สูงเพื่อรองรับความต้องการพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความทนทาน 

ข้อจำกัดของ Modular UPS

  • ราคาสูงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ UPS ประเภทอื่นๆ

เลือกใช้งาน UPS ต้องดูอะไรบ้าง

เลือกใช้งาน UPS ต้องดูอะไรบ้าง

การเลือก UPS ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ควรพิจารณาดังนี้ 

  • สำหรับอุปกรณ์แต่ละเครื่องที่จะเชื่อมต่อกับ UPS ให้พิจารณาการใช้พลังงาน (วัตต์) ของอุปกรณ์นั้น ว่าสามารถรับปริมาณการใช้พลังงานได้จาก UPS เท่าไร ความจุของ UPS ที่ต้องการคือ การใช้พลังงานของอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อกับ UPS

  • ต่อไปให้พิจารณารันไทม์ของ UPS ที่ต้องการสำหรับการทำงานต่อเนื่องในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง ระยะเวลารันไทม์ที่จำเป็นของ UPS อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที เพื่อเริ่มต้นระบบและเปลี่ยนไปใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างปลอดภัย 

  • หลังจากพิจารณารันไทม์ของ UPS ที่ต้องการแล้ว ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า UPS มีเต้ารับเพียงพอ ซึ่ง UPS บางรุ่นมีเต้ารับที่รองรับเฉพาะการป้องกันไฟกระชากเท่านั้น ช่องเสียบเหล่านี้ไม่มีแบตเตอรี่สำรอง จึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสมบัติของ UPS ที่จะซื้อและมีเต้ารับแบตเตอรี่สำรองเพียงพอต่อความต้องการ

  • สุดท้ายให้พิจารณาข้อกำหนดในการติดตั้ง UPS ซึ่ง UPS มีหลายขนาดและรูปแบบ โดยทั่วไปแล้ว UPS รุ่นแบบติดตั้งบนชั้นวางได้รับการออกแบบให้พอดีกับชั้นวาง IT มาตรฐานขนาด 19 นิ้วร่วมกับอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ UPS แบบติดตั้งบนชั้นวางมีขนาดแตกต่างกันไป ทั้งนี้ UPS ที่ออกแบบมาเพื่อใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมักจะมีขนาดเล็กและเบากว่ารุ่นที่คล้ายกันซึ่งใช้แบตเตอรี่ตะกั่วกรดแบบดั้งเดิม แต่ติดตั้งในพื้นที่ที่ขนาดเล็กกว่า 

สรุป

UPS (Uninterruptible Power Supply) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเรียกได้ว่างเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะกักเก็บไฟสำรองเอาไว้เพื่อใช้ในเวลาที่จำเป็นหรือในเวลาฉุกเฉิน อย่างเช่น ไฟฟ้าดับ ไฟกระชาก ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรือหม้อแปลงมีปัญหา จนทำให้ไฟฟ้าถูกตัด แต่อุปกรณ์ UPS จะทำหน้าที่ปรับแรงดันและจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติในระดับที่เหมาะสมแก่เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ สามารถทำงานต่อไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง จึงช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ โดยประเภทของ UPS ได้แก่ Standby / Offline UPS, Line-Interactive UPS, Online UPS, D-C UPS, CVT UPS และ Modular UPS ซึ่งการเลือกใช้ UPS ให้เหมาะสมจะต้องพิจารณาจากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน (วัตต์) ของอุปกรณ์นั้น การรันไทม์ของ UPS มีเต้ารับเพียงพอหรือไม่ และข้อกำหนดในการติดตั้ง UPS สำหรับใครที่อยากติดตั้งแบตเตอรี่ UPS ที่ Siam Generator มี UPS ให้เลือกซื้อมากมาย ได้มาตรฐาน พร้อมให้บริการทุกขั้นตอน ตั้งแต่ให้คำปรึกษา เลือกซื้อ รวมไปถึงบริการหลังการขาย ได้รับความประทับใจแน่นอน

Powered by Froala Editor


แชร์บทความนี้