โซลาร์ฟาร์มคืออะไร 1 MW ลงทุนเท่าไร มีประโยชน์-ข้อจำกัดยังไงบ้าง?


โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) คือธุรกิจโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่น่าจับตามอง และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนด้านนี้อย่างมาก ได้รับความนิยม และยังมีผู้ทำธุรกิจนี้ไม่มากนัก สามารถคืนทุนไว ทำกำไรได้สูง และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น มาศึกษาว่า 1 MW ลงทุนเท่าไร มีประโยชน์-ข้อจำกัดยังไงไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

โซลาร์ฟาร์ม คืออะไร

โซลาร์ฟาร์ม คือการเปลี่ยนพื้นที่ดินว่างๆ ให้มีการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งทำให้ดูคล้ายกับเป็นตัวโรงงานฟาร์มโซลาร์เซลล์สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อการจ่ายพลังงานไปยังส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ ที่ต้องการใช้งานไฟฟ้า เพื่อลดงบประมาณในด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าไฟ และค่าใช้จ่ายเสริมอื่นๆ ให้ด้านการบำรุงรักษาที่มากจนเกินไป 

มีขั้นตอนสำคัญหลักๆ คือเรื่องการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับธุรกิจที่ต้องการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการลำเลียงกระแสไฟฟ้ามาเปลี่ยน จ่าย จัดเก็บให้ได้มากที่สุด สามารถดึงพลังงานไปใช้ยังสถานที่ระดับโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่แบบบ้านเรือนได้แบบไม่มีจำกัด

โซลาร์ฟาร์ม มีกี่ประเภท เลือกอย่างไรดี?

โซลาร์ฟาร์ม มีกี่ประเภท เลือกอย่างไรดี?

โซลาร์ฟาร์มมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และลักษณะการติดตั้ง เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยากทำธุรกิจนี้ ต้องศึกษาข้อมูลประกอบให้ครบ และพิจารณาให้เหมาะสม ทั้งด้านงบประมาณ การใช้งาน พื้นที่ในการติดตั้ง และวางแผนเผื่อเป้าหมายอนาคตระยะสั้นๆ เพิ่มเติมไว้ด้วย เพื่อให้การลงทุนคุ้มค่าสูงสุดในครั้งแรก และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดเป็นต้นทุนเพิ่มเติม โดยรูปแบบการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีประเภทหลักๆ ดังนี้

1. การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ เป็นวิธีการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์ที่เน้นการดึงประสิทธิภาพพลังงานของแสงอาทิตย์ได้ดีมากกว่ารูปแบบอื่นๆ ถึง 30% เนื่องจากระบบโซลาร์เซลล์ประเภทนี้จะมีเข็มที่สามารถหมุนแผงไปตามพลังงานความเข้มข้นของแสงจากดวงอาทิตย์ได้ ผ่านโปรแกรมสำหรับควบคุมการหมุนของตัวแผงนี้ เพื่อให้ได้รับพลังงานต่อเนื่องตลอดเวลา  มีประสิทธิภาพดีกว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบยึดอยู่กับที่ ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนสูงมากก็ตาม

วิธีการติดตั้ง

  1. นิยมติดตั้งบนหลังคาบ้าน สามารถติดตั้งบริเวณพื้นที่แบบใดก็ได้ แต่ถ้าให้ได้ประสิทธิภาพเต็มรูปแบบควรติดตั้งบริเวณพื้นที่สูงๆ อย่างส่วนของหลังคาเป็นหลัก

  2. การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์นี้ จะเป็นการติดตั้งผ่านโปรแกรมที่มีการควบคุมระบบการหมุนตามพลังงานความเข้มข้นของแสงอาทิตย์

2. การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบนี้ จะเป็นการติดตั้งระบบอุปกรณ์ทั้งหมดไปยังพื้นผิวน้ำ ไม่มีการติดตั้งตัวอุปกรณ์บนบก หรือบนพื้นดินเด็ดขาด เป็นการใช้งานผ่านทุ่นที่สามารถลอยน้ำได้ พร้อมช่วยดูดซับความร้อนระหว่างการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ขั้นตอนการลำเลียง และการผลิตกระแสไฟฟ้าจึงดึงการทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อเนื่องตลอดเวลานั่นเอง ไม่มีการเสียค่าบำรุงติดตั้งอื่นๆ เพิ่มเติมเหมือนกับระบบบนพื้นดิน

วิธีการติดตั้ง

  1. พื้นที่สำหรับการติดตั้งจะเป็นการติดตั้งไว้บนผิวน้ำ ไม่มีการติดตั้งระบบประเภทนี้ไว้บนบก

  2. นำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งเข้ากับทุ่นพลาสติกที่เป็นเม็ดพลาสติกเกรด HDPE เท่านั้น เพื่อคุณสมบัติด้านความทนทานต่ออุณหภูมิ

  3. ระบบจะมีการระบายความร้อนไปยังพื้นผิวน้ำรอบๆ ทำให้มีการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา และมีความคงทนในการใช้งานสูงมาก

3. การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System)

วิธีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบยึดอยู่กับที่ เป็นวิธีการที่ต้องเลือกจุดในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์อย่างตายตัว เพื่อให้ได้พื้นที่สำหรับการรับพลังงานแสงอาทิตย์เต็มที่ ยาวนาน และไม่มีการบดบังใดๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น ระบบโซลาร์เซลล์แบบนี้จะมีตำแหน่งการติดตั้งไว้ยังพื้นดินในจุดที่ชัดเจน หลังผ่านการตรวจสอบความทั่วถึงของพลังงานจากดวงอาทิตย์ และทิศทางต่างๆ มาเรียบร้อยตลอดทุกช่วงเวลาทั้งวัน 

ใช้งบประมาณในการติดตั้งน้อยมากที่สุด ประหยัดเงินทุน และสามารถเข้าถึงการใช้พลังงานให้กับตัวอาคารบ้านเรือนสำหรับการอยู่อาศัยทั่วไปได้ ลดค่าไฟ ค่าต้นทุน และยังมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำมากอีกด้วย ถึงแม้ประสิทธิภาพจะไม่ได้คุณภาพสูงเท่ากับแบบลอยน้ำ หรือแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ แต่ก็ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน

วิธีการติดตั้ง

  1. บริเวณพื้นที่ในการติดตั้งรูปแบบนี้ จะมีพื้นที่ที่ชัดเจน มีการระบุจุดการติดตั้งที่เหมาะสม และสามารถเข้าถึงการดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด และยาวนานที่สุด

  2. การติดตั้งระบบรูปแบบนี้จะต้องเลือกพื้นที่บริเวณที่สามารถโดนแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด และไม่มีการบดบังใดๆ

  3. เป็นการติดตั้งลงบนพื้นดินตามปกติ

ประโยชน์ของการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

ประโยชน์ของการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

การเลือกติดตั้งระบบโซลาร์ฟาร์มจากการเลือกลงทุนพื้นที่ใหญ่ๆ เพื่อการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั้น มีประโยชน์ทั้งด้านการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า ที่เปลี่ยนมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ บริเวณนั้น หรือจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยบ้านเรือนก็สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมตามการควบคุมระบบแผงโซลาร์เซลล์นั่นเอง ซึ่งข้อดีในการทำธุรกิจฟาร์มโซลาร์เซลล์มีดังนี้

  • ประหยัดพลังงานไฟฟ้าหลักที่ต้องใช้จากหน่วยงานการไฟฟ้าโดยตรง ทำให้ค่าไฟต่อเดือนลดลงมากกว่า 50%

  • สามารถดึงพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพราะพลังงานไฟฟ้าที่มาจากระบบโซลาร์เซลล์ถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม และมีไม่จำกัด ไม่ผลิตก๊าซเรือนกระจกออกมาทำลายธรรมชาติ

  • ระบบการติดตั้ง และระบบการทำงานของอุปกรณ์การทำโซลาร์ฟาร์มไม่มีความซับซ้อน ลงทุนแล้วคุ้มค่าแน่นอน

ข้อจำกัดของการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม

ในการลงทุนทำโซลาร์ฟาร์มนั้น เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อจำกัดของการวางระบบ และทำธุรกิจเหล่านี้ร่วมด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาให้กับผู้ที่สนใจเริ่มต้นลงทุน ต้องขอแนะนำข้อจำกัดระบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อการทำโซลาร์ฟาร์มหลักๆ ดังนี้

  • หมุนเวียนกระแสไฟฟ้าได้ไม่ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพราะมีจำนวนพลังงานที่จำกัดมาจากการรับแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนพลังงานในช่วงเวลากลางวัน ดังนั้น พลังงานที่เหลือจัดเก็บมาใช้งานต่อหลังจากพระอาทิตย์ตกแล้ว ขึ้นอยู่กับการจ่ายพลังงานระหว่างวันด้วยเช่นกัน

  • การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะได้รับกระแสพลังงานที่สูงมาก หรือน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีช่วงวันเวลานั้นๆ

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ต้องการทำโซลาร์ฟาร์มค่อนข้างมีความเสี่ยงจะคืนทุนช้า หรือไม่คุ้มค่า ขึ้นอยู่กับการวางแผนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ และขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ในการทำโซลาร์ฟาร์ม

ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มกับการติดโซลาร์เซลล์ตามบ้าน ต่างกันอย่างไร

 เพื่อการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดค่าไฟมากที่สุดในทุกวันนี้ มีผู้คนหันมาติดตั้ง และเลือกใช้งานระบบโซลาร์เซลล์กันเยอะขึ้นมาก ซึ่งการติดตั้งโซลาร์เซลล์ตามบ้านทั่วไป จะเป็นระบบที่ติดตั้งไว้บนหลังคาบ้านตามที่คุ้นเคยกันดี แต่สำหรับการทำโซลาร์ฟาร์มจะเป็นการลงทุนเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าไปใช้ในพื้นที่ที่ใช้กระแสไฟฟ้าสูงมาก อย่างพวกโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้น การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จึงต้องมีทั้งงบประมาณที่สูงมาก และมีพื้นที่สำหรับการติดตั้งระบบที่เยอะมากอีกด้วย โดยโซลาร์เซลล์จากการทำโซลาร์ฟาร์มให้กับภาคโรงงานใหญ่ สามารถจ่ายกระแสไฟให้กับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยได้ แต่ไม่สามารถประยุกต์ระบบของโซลาร์เซลล์ตามบ้านไปยังการจ่ายแบบฟาร์มโซลาร์เซลล์ได้

ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มคุ้มค่าหรือไม่ กี่ปีคืนทุน?

ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มคุ้มค่าหรือไม่ กี่ปีคืนทุน?

สำหรับใครที่กำลังสนใจแผนการทำโซลาร์ฟาร์มนั้น สามารถพิจารณาได้จากตัวอย่างรูปแบบการลงทุนที่คุ้มค่าของฟาร์มโซลาร์เซลล์ที่มีมาให้ศึกษาด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ดังนี้

โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ใช้งบการลงทุนเท่าไร

โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ต้องลงทุนเท่าไร และสามารถสร้างรายได้เท่าไร จะคุ้มค่าหรือไม่? ในส่วนนี้สามารถตอบได้อย่างชัดเจนเลยว่า ระยะเวลาการคืนทุนต่อ 1 MW ของการลงทุนทำโซลาร์ฟาร์ม จะอยู่ที่ประมาณ 3–4 ปีเท่านั้น ด้วยการคำนวณจากกระแสไฟฟ้าที่สามารถผลิตต่อปีได้ถึง 1,460,000 หน่วย เพราะฉะนั้น เมื่อมาคูณกับค่าไฟฟ้ายูนิตสูงสุดโดยประมาณที่ 4.5 บาท จะพบว่า ราคาค่าไฟฟ้าประหยัดได้ถึง 6,570,000 บาทต่อปี ดังนั้น ความคุ้มทุนจึงเกิดได้ไว ไม่ว่าจะมีพื้นที่ในการติดตั้งมากน้อยแค่ไหนก็ตาม

โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใช้งบการลงทุนเท่าไร

โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ เป็นการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาท ซึ่งรายได้จะมาจากการขายกระแสไฟฟ้าในระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแบบ 100 กิโลวัตต์ภายในพื้นที่ 1 ไร่ และจ่ายคืนให้กับทางหน่วยงานการไฟฟ้าที่เฉลี่ยประมาณหน่วยละ 2.20 บาท เป็นราคารับซื้อ จึงหมายความว่า โอกาสในการขายไฟคืนสูงสุดได้ถึงวันละ 1,100 บาท จึงเป็นการคำนวณรายได้ต่อปีอยู่ที่ 4 แสนบาทโดยเฉลี่ยนั่นเอง จะเห็นได้ว่า คืนทุนได้ไว ทำกำไรได้ต่อเนื่อง และเป็นการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากขึ้น

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีวิธีดำเนินการอย่างไร

ผู้ที่สนใจเริ่มธุรกิจโซลาร์ฟาร์มต้องยื่นจดทะเบียนหรือไม่? เป็นหนึ่งในข้อสงสัยที่หลายๆ คน ให้ความกังวลเรื่องความยุ่งยากสำหรับการเริ่มต้นอย่างมาก ซึ่งการทำธุรกิจประเภทนี้ ดำเนินการทุกขั้นตอนง่ายมากตั้งแต่เริ่ม โดยสามารถเรียงลำดับขั้นตอนการจัดการทั้งหมดได้ ดังนี้

  1. เริ่มต้นสำรวจพื้นที่ที่ต้องการทำโซลาร์ฟาร์ม เพื่อดูว่าสามารถติดตั้งได้ในพื้นที่เท่าไร และมีเงินทุนที่เพียงพอหรือไม่ ทั้งการติดตั้ง และการบำรุงรักษา โดยการทำโซลาร์ฟาร์มนั้น ยิ่งได้พื้นที่เยอะมากก็ยิ่งดี ยิ่งติดตั้งระบบไว้ใหญ่เท่าไรก็ยิ่งคืนทุนไว ทำกำไรเร็ว ทั้งนี้ก็ต้องใช้เงินทุนเริ่มต้นสูงด้วยเช่นกัน

  2. ต่อไปให้ดำเนินการจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำธุรกิจประเภทโซลาร์ฟาร์มกับทางหน่วยงานการไฟฟ้า เพื่อให้สามารถขายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง และทางหน่วยงานจะตรวจสอบระบบที่เลือกใช้ว่าเป็นโซลาร์เซลล์แบบออนกริด ออฟกริด หรือไฮบริด แล้วดำเนินการลงทะเบียนให้

  3. สุดท้ายคือการออกแบบ และดำเนินการติดตั้งก่อสร้างระบบโซลาร์เซลล์ เพราะการทำฟาร์มโซลาร์เซลล์ เป็นโครงการใหญ่ที่ต้องหาบริษัทดูแลที่มีความชำนาญ และมากประสบการณ์เท่านั้น ที่สำคัญคือควรมีบริการหลังการขายต่อเนื่องด้วยเช่นกัน เพื่อการบำรุงรักษาเต็มประสิทธิภาพ

สรุป

โซลาร์ฟาร์ม คือการติดตั้งระบบแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อการทำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าที่สามารถจ่ายไปยังส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องการใช้งานกระแสไฟฟ้าจำนวนมาก พร้อมกับต้องการประหยัดค่าไฟมากขึ้น รวมถึงสามารถนำกระแสไฟฟ้าไปขายคืนให้กับทางหน่วยงานการไฟฟ้าเป็นเชิงธุรกิจได้ ซึ่งการจดทะเบียนของการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์มนั้นง่ายมาก เพียงทำเอกสารขอเกี่ยวกับสัญญาการขายไฟฟ้าคืน และยืนยันระบบโซลาร์เซลล์ที่ใช้ติดตั้งไปยังหน่วยงานการไฟฟ้าเท่านั้น 

หากต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจนี้ ต้องศึกษาเกี่ยวกับจำนวนพื้นที่ที่มีอยู่ งบประมาณที่มีว่าเพียงพอในการติดตั้งหรือไม่ พร้อมทั้งการบำรุงรักษา พร้อมกับระยะเวลาในการคืนทุน ยิ่งลงทุนมากก็ยิ่งได้กำไรไว แต่ก็ต้องแลกมาด้วยงบประมาณสูงเช่นกัน จึงต้องศึกษาอย่างละเอียด หรือใครที่ไม่มั่นใจก็สามารถเข้าปรึกษากับทาง Siam Generator ทางเรามีบริการติดตั้ง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ พร้อมบริการจากทีมงานมืออาชีพ และมีบริการหลังการขายที่ดูแลอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน 

Powered by Froala Editor


แชร์บทความนี้