พิกัดกำลังไฟฟ้า (Power Rating) คือ? จะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องรู้


พิกัดกำลังไฟฟ้า (Power Rating) เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรพิจารณาหากกำลังวางแผนติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าแล้วพิกัดกำลังไฟฟ้าคืออะไร แล้วเราจะเลือกอย่างไรให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานของเรา 

พิกัดกำลังไฟฟ้า (Power Rating) คืออะไร

พิกัดกำลังไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ คือกำลังสุทธิที่จ่ายไปยังด้านนอกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อส่งไปที่โหลดซึ่งจะแยกส่วนกันกับที่ต้องจ่ายให้กับโหลดภายในเครื่องอีกที โดยได้มีการกำหนดเป็น kVA ที่ความถี่พิกัด และมีค่าตัวประกอบกำลังอยู่ที่ 0.8 Lagging หรืออาจมีการกำหนดให้เป็นค่าอื่นได้ด้วยเช่นกัน 

Load Factor คืออะไร

Load Factor เป็นค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า ที่จะช่วยแสดงให้เห็นถึงความสม่ำเสมอของการใช้ไฟฟ้า โดยลักษณะการทำงานของ Load Factor จะทำงานเพื่อบอกคุณภาพในการใช้ไฟฟ้าว่ามีความสม่ำเสมอ หรือใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากในครัวเรือนมีการใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งการทำงานของระบบไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอตลอดการใช้งาน ก็จะทำให้ Load Factor เป็น 100% ซึ่งแสดงถึงการมีประสิทธิภาพในการใช้งาน แต่หากการใช้ไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ และไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าใด การแสดงของ Load Factor ก็จะเข้าใกล้ 0% มากเท่านั้น

พิกัดกำลังไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาตรฐาน ISO 8525-1 (2018)

พิกัดกำลังไฟฟ้า (Power Rating) คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาตรฐาน ISO 8528-1 (2018) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักตาม Load Factor และตามระยะเวลาการใช้งานต่อปีที่แตกต่างกัน ตามรูปแบบของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป โดยรายละเอียดมีดังนี้

1. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง

พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง (Continuous Power : COP / Base Load power) คือการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ขนานเข้ากับกระแสหลัก ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง จนถึงระดับ 100% ซึ่งไม่ได้มีการจำกัดเวลา ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานประกอบกับการบำรุงรักษา หรือสามารถใช้งานได้ตลอดเวลานั่นเอง 

2. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบพร้อมใช้

พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบพร้อมใช้ (Prime Power : PRP) คือพิกัดกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และไม่จำกัดเวลา หากแต่การใช้งานจะต้องไม่เกิน 70% ของพิกัดกำลังไฟฟ้าทั้งหมด อีกทั้งยังช่วยจ่ายไฟได้ในกรณีที่ไฟหลักเกิดความขัอข้อง โดยอย่างไรก็ตามพิกัดกำลังไฟฟ้าแบบพร้อมใช้จะสามารถใช้กำลังพิกัดได้ไม่เกิน 10% ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ในรอบการใช้งาน 12 ชั่วโมง

3. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบจำกัดเวลา

พิกัดไฟฟ้าแบบจำกัดเวลา (Limited Time Running Power : LTP) สามารถจ่ายพิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้สูงสุดเต็มพิกัดถึง 100% หากแต่จะสามารถใช้ได้ไม่เกิน 500 ชั่วโมงต่อปี 

4. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบไม่จำกัดเวลา

พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบไม่จำกัดเวลา (Unlimited Running Time Prime Power : ULTP) คือสามารถจ่ายโหลดได้ต่อเนื่อง ตลอดเวลา หากแต่จะจ่ายได้ไม่เกิน 70% ของพิกัดกำลังไฟฟ้า และจะไม่มีการอนุญาตให้ใช้เกินพิกัดอย่างเด็ดขาด

5. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบดาต้าเซนเตอร์

พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบดาต้าเซนเตอร์ (Data Center Power : DCP) คือพิกัดกำลังไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องแบบไม่จำกัดเวลา สามารถใช้งานได้ตามพิกัดสูงสุด หากแต่จะไม่สามารถใช้เกินกว่าพิกัดสูงสุดได้เลย ซึ่งมีข้อแนะนำว่าไม่ควรใช้พิกัดกำลังไฟฟ้าประเภทนี้ ควบคู่ขนานไปกับแหล่งจ่ายไฟหลักนานจนเกินไป 

6. พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบสำรองฉุกเฉิน

พิกัดกำลังไฟฟ้าแบบสำรองฉุกเฉิน (Emergency Standby Power : ESP) คือพิกัดกำลังไฟฟ้าที่สามารถใช้ทดแทนกำลังไฟฟ้าหลัก หากเมื่อแหล่งกำลังไฟฟ้าหลักทำงานไม่เสถียร หรือหยุดทำงานไปชั่วขณะด้วยเหตุขัดข้องต่างๆ โดยข้อกำหนดคือจะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ไม่เกินกว่าพิกัดสูงสุด และกำหนดระยะเวลาไว้ที่ ไม่เกิน 200 ชั่วโมง ต่อ 1 ปี

พิกัด ISO 3046 มาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซล

โดยพิกัด ISO 3046 มาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซล จะมีดังนี้

  • ISO3046-1 เป็นส่วนที่ 1 ที่กล่าวถึงการกำหนดพิกัด ไม่ว่าจะเป็นกำลังเครื่องยนต์ อัตราการใช้น้ำมัน น้ำมันเครื่อง และการตรวจสอบเครื่องยนต์ หรืออาจเป็นเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติมในการใช้งานเครื่องยนต์ทั่วไป

  • ISO3046-3 เป็นส่วนที่ 3 กล่าวถึงการทดสอบและการวัดค่าต่างๆ 

  • ISO3046-4 เป็นส่วนที่ 4 กล่าวถึงการควบคุมความเร็วรอบของเครื่อง

  • ISO3046-5 เป็นส่วนที่ 5 กล่าวถึงความสั่นสะเทือนแบบปิดตัว ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน

  • ISO3046-6 เป็นส่วนที่ 6 กล่าวถึงการป้องกันความเสียหายจากเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบที่สูงเกินไป

DIN พิกัดการนำกระแสของบัสบาร์

DIN (Deutsches Institut für Normung หรือ German Institute for Standardization) คือ มาตรฐานของเยอรมันเป็นข้อมูลอ้างอิงในทางอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม รวมถึงทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล การก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมอาหาร  ทั้งการรับประกันความปลอดภัย และความเข้ากันหรือต่อได้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งมาตรฐาน DIN เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในยุโรป


ขนาดบาร์

น้ำหนัก

การนำกระแสที่ Ambient temperature, 35 C และ Conductor temp 65 C (แอมแปร์)

การนำกระแสที่ Ambient temperature, 40 C และ Conductor temp, 70 C (แอมแปร์)

100

No.

(mm.)


จำนวนบาร์ทองแดงต่อเฟส

จำนวนบาร์ทองแดงต่อเฟส

แอมแปร์


กว้าง x หนา

Kgs/m.

บาร์ทองแดงแบบเปลือย

บาร์ทองแดงแบบพ่นสี

บาร์ทองแดงแบบเปลือย

บาร์ทองแดงแบบพ่นสี

ตารางนิ้ว




I

II

III

I

II

III

I

II

III

I

II

III

I

1

12 x 3

0.35

135

240

313

156

268

331

134

238

310

153

266

328

55.8

2

12 x 5

0.56

183

352

506

210

392

534

181

349

501

208

388

529

93

3

12 x 10

1.12

297

605

880

342

675

981

294

599

872

339

668

972

186

4

20 x 5

0.89

274

500

690

319

560

728

271

495

684

316

555

721

155

5

20 x 10

1.79

427

825

1180

497

924

1320

423

817

1169

492

915

1308

310

6

25 x 5

1.12

327

586

795

384

662

839

324

581

788

380

656

831

193.75

7

25 x 10

2.23

501

946

1136

588

1065

1501

497

937

1323

582

1055

1487

387.5

8

30 x 5

1.34

379

672

896

447

760

944

375

666

888

443

753

935

232.5

9

30 x 10

2.68

573

1060

1480

676

1200

1670

568

1050

1466

670

1189

1654

465

10

40 x 5

1.79

482

836

1090

573

952

1140

477

828

1080

568

943

1129

310

11

40 x 10

3.57

715

1290

1770

850

1470

2000

708

1278

1753

842

1456

1981

620

12

50 x 5

2.23

583

994

1260

697

1140

1330

578

985

1248

690

1129

1381

387.5

13

50 x 10

4.46

852

1510

2040

1020

1720

2320

844

1496

2021

1010

1704

2298

775

14

60 x 5

2.68

688

1150

1440

826

1330

1510

682

1139

1427

818

1318

1496

465

15

60 x 10

5.36

989

1720

2300

1180

1960

2610

980

1704

2278

1169

1942

2586

930

16

80 x 5

3.57

885

1450

1750

1070

1680

1830

877

1436

1734

1060

1664

1813

620

17

80 x 10

7.14

1240

2110

2790

1500

2410

3170

1228

2090

2764

1486

2387

3140

1240

18

100 x 5

4.46

1080

1730

2050

1300

2010

2150

1070

1741

2031

1288

1991

2130

775

19

100 x 10

8.93

1490

2480

3260

1810

2850

3720

1476

2457

3229

1793

2823

3685

1550

20

120 x 10

10.7

1740

2860

3740

2110

3280

4270

1724

2833

3705

2090

3249

4230

1860

21

160 x 10

14.3

2220

3590

4680

2700

4130

5360

2199

3556

4636

2675

4091

5310

2480

22

200 x 10

17.8

2690

4310

5610

3290

4970

6430

2665

4270

3259

3259

4923

6370

3100

พิกัด BS5514 ที่พบเห็นตามโบรชัวร์ และแคตตาล๊อก คืออะไร

พิกัด BS5514 เป็นมาตรฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งมักจะเป็นมาตรฐานประจำชาติที่มีความแตกต่างกัน โดย BS เป็นมาตรฐานของอังกฤษ อย่างไรก็ตามมาตรฐานประจำชาติก็ยังคงอิงมาจากมาตรฐานสากล คือ ISO3046 หรือ ISO8582 

ข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงงาน

การเลือกซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงงานสิ่งที่ควรพิจารณาคือ การดูความเหมาะสมในการใช้งานของเรา ว่าต้องใช้มากน้อยเพียงใด หรือรวมไปถึงพิจารณาว่าต้องการใช้พลังงานจากดีเซล หรือก๊าซ ต้องการใช้แบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส ต้องการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เป็นกระแสหลักหรือกระแสสำรอง พิจารณาเงื่อนไขการใช้งาน การติดตั้งความต้องการในการใช้รอบทั้งต่อชั่วโมง สัปดาห์ หรือปี เป็นต้น 

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล ตามมาตรฐาน EPA

EPA (Environmental Protection Agency) เป็นมาตรฐานในฝั่งของอเมริกา โดยถึงแม้ว่าปัจจุบันสิ่งแวดล้อมจะถูกดูแลรักษาไปในทางที่ดีขึ้น มลพิษหรือมลภาวะก็เริ่มลดลงมาถึง 73 % แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการใช้พลังงานกลับเพิ่มขึ้น เพื่อการลดสารมลพิษในอากาศ โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้นำกฎหมายในปี 1950 เข้ามาใช้เพื่อบังคับ และจำกัดการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในการสร้างพลังงานให้แก่เครื่องยนต์ เพื่อจำกัดการปลดปล่อยสารมลพิษต่างๆ ดังนั้นเครื่องยนต์ดีเซลจะต้องทำตามมาตรฐาน EPA ตามอันดับต่างๆ ที่ได้มีการจัดเอาไว้ 4 อันดับ ดังนี้ 

ระดับ 1

ในระดับแรก รัฐจะออกกฎอนุญาตให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เป็นพลังงานนิ่งเฉพาะแหล่งต่างๆ และกำหนดการปล่อยมลพิษในเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล ที่ไม่ได้ขับเคลื่อนบนถนน อาทิ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในสถานที่ต่างๆ เครื่องยนต์ดีเซลที่ได้รับการอนุญาต เช่น เรือ หรือ หัวรถจักร 

ระดับ 2

ในระดับที่ 2 ถูกนำมาใช้ในปี 1998 ซึ่งเพิ่มความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนที่ไม่เผาไหม้ ฝุ่นละออง (PM) และไนโตรเจนออกไซด์ ได้แก่ NO และ NO2 ซึ่งในระดับที่ 2 นี้ควบคุมไปถึงเครื่องยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี 2001-2005 

ระดับ 3

ในระดับที่ 3 บังคับใช้ในปี 2006-2008 โดยมีกฎในการจำกัดการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์ที่มีแรงม้ากำลังตั้งแต่ 50-720 แรงม้า 

ระดับ 4

ในระดับสุดท้าย มีการลงนามในเดือนพฤษภาคม ปี 2004 โดยเป็นการออกกฎแก่เครื่องยนต์ทั้งหมดที่ถูกผลิตตั้งแต่ปี 2008-2015 โดยเป็นการมุ่งหวังเพื่อลดการปล่อยฝุ่นละออง และไนโตรเจนออกไซด์ลง 90% ทั่วประเทศ 

เลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ได้ ให้ Siam Generator ช่วย

หากใครที่กำลังสนใจติดตั้ง หรือสนใจข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Siam Generator เป็นผู้ให้บริการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำที่เชื่อถือได้ อีกทั้งยังสามารถให้คำปรึกษาในการเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน โดย Siam Generator มีทีมงานที่มีความชำนาญในการติดตั้ง ดูแล และบำรุงรักษาแบบครบวงจร 

สรุป

พิกัดกำลังไฟฟ้า หรือ Power Rating คือ กำลังสุทธิที่ถูกจ่ายไปยังโหลดของเครื่องปั่นไฟ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยจะแบ่งประเภทการใช้งานหรือแบ่งการดูพิกัดได้จากค่าความเสถียรความสม่ำเสมอของการใช้งาน ตามระยะเวลาในการใช้งาน ซึ่งหากสนใจที่จะเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สิ่งที่ต้องพิจารณาเลยคือความต้องการในการใช้งานว่าแบบใดจะเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานที่เราต้องการมากที่สุด เพื่อทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อลักษณะการใช้งานของเรามากที่สุด  

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


แชร์บทความนี้