วิธีดูแลเครื่องปั่นไฟ บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ถูกวิธี พร้อมใช้งาน


วิธีดูแลเครื่องปั่นไฟ บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ถูกวิธี พร้อมใช้งาน

การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ บทความนี้มีวิธีดูแลรักษา เครื่องปั่นไฟ ว่าควรตรวจเช็กอะไรบ้างในการบำรุงแต่ละครั้ง เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมยืดอายุการใช้งานในยาวนานยิ่งขึ้นอย่างถูกวิธี


ทำความรู้จักเครื่องปั่นไฟ คืออะไร


ทำความรู้จักเครื่องปั่นไฟ คืออะไร 

เครื่องปั่นไฟเป็นอุปกรณ์สำคัญในการดึงพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานกลมาสร้างพลังงานไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินที่สามารถจัดเก็บกระแสต่างๆ ให้พร้อมนำไปใช้งานได้ทันที หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนพลังงานจากการกระทำ การลงมือลงแรงของมนุษย์เราไปสร้างกระแสไฟฟ้าสำรอง เพื่อใช้งานตอนที่กระแสไฟฟ้าหลักของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีปัญหาขัดข้อง ซึ่งการใช้พลังงานของเครื่องปั่นไฟนี้ สามารถใช้ได้กับทุกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดด้วยเช่นกัน ให้พลังงานไฟฟ้าที่สูงมาก กักเก็บกระแสไปหมุนใช้ได้ดี เป็นประโยชน์อย่างมากในทุกๆ งาน

ส่วนประเภทเครื่องปั่นไฟประเภทหลักๆ มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ เครื่องแบบกระแสตรง และเครื่องแบบกระแสสลับ ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ กระแสตรงจะไหลผ่านไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ที่ต้องการรับไฟฟ้าทันที ส่วนแบบกระแสสลับจะเป็นการจัดเก็บกระแสไว้ก่อน แล้วปล่อยใช้งานในช่วงเวลาที่ต้องการได้ นอกจากนี้ หากพูดถึงประเภทเครื่องปั่นไฟที่ทันสมัยเข้ากับทุกวันนี้ จะแบ่งได้ถึง 5 ประเภท ได้แก่ เครื่องปั่นไฟแบบเบนซิน, เครื่องดีเซล, เครื่องปั่นไฟแบบแบตเตอรี่, เครื่องปั่นแบบโซลาร์เซล และเครื่องแบบอินเวอร์เตอร์ ซึ่งทุกรูปแบบจะต่างกันที่ขนาดเครื่อง ความจุกระแส และความต้องการในการใช้งาน ส่วนวิธีดูแลเครื่อง Generator ก็เป็นข้อมูลที่ทุกคนควรรู้ด้วยเช่นกัน เพื่อยืดอายุอุปกรณ์ได้นานมากที่สุด 


การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำคัญอย่างไร


การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำคัญอย่างไร

การดูแลบำรุงเครื่องกำเนิดเครื่องปั่นไฟ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะลดโอกาสที่เครื่องจะเสีย หรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเวลาเร่งด่วนที่ต้องใช้งานจริง ส่วนการบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟนี้ ควรต้องขั้นตอนการบำรุงเครื่องอย่างถูกต้องตามหลักขั้นตอนของวิธีดูแลเครื่อง Generator เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการตรวจสอบ รับรองว่า สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องได้อีกยาว หมดปัญหาเครื่องใช้งานต่อไม่ได้ในเวลาฉุกเฉิน หรือจะเป็นปัญหาไฟรั่วที่ค่อนข้างอันตรายมากที่สุด แนะนำว่าให้เน้นดูแลรักษาตามคู่มือการบำรุงรักษา เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดีกว่าการซื้อเครื่องใหม่เรื่อยๆ อย่างแน่นอน 


10 ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


10 ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 

การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟช่วยให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องปั่นไฟได้ โดยใช้ขั้นตอนตามคู่มือการบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟอย่างถูกต้อง มีวิธีดูแลเครื่องปั่นไฟ ดังนี้

1. ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องปั่นไฟ

ขั้นตอนแรกสำหรับการดูแลเครื่องปั่นไฟ ต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องปั่นไฟทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน สำหรับการเช็กความพร้อมนี้ให้ตัดกระแสไฟฟ้าและปิดทุกสวิตช์ที่เกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์ของการจ่ายพลังงานจากเครื่องปั่นไฟทุกอย่าง ทุกวงจรทั้งหมดออกก่อน แล้วจึงเริ่มต้นตรวจสอบสิ่งสำคัญก่อนการเริ่มต้นใช้งานที่ควรดูก่อนเปิดเครื่องทุกครั้ง ได้แก่

  • ระดับของน้ำมันในเครื่องยนต์จะต้องไม่มีคราบดำ ไม่เป็นน้ำมันเก่าที่หมดอายุหรือเป็นตะกอนน้ำมันอย่างเด็ดขาด สามารถเปลี่ยนตามอายุการบำรุงรักษาได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ไม่ควรค้างทิ้งขว้างไว้เป็นระยะเวลานานเกินไป

  • สายพานของระบบเครื่องยนต์จาก Generator ต้องเปลี่ยนให้บ่อยที่สุด หากสามารถเปลี่ยนทันทีทั้งก่อนใช้หรือหลังการใช้งานครั้งนั้นๆ ได้ พร้อมใส่น้ำมันหล่อลื่นอยู่เสมอ ก็จะยิ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องได้มากขึ้น พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาที่ฉุกเฉินแน่นอน

  • การทำความสะอาดตัวเครื่องยนต์และระบบวงจรต่างๆ แนะนำให้ใช้เพียงแค่ผ้าแห้งในการทำความสะอาดตามจุดที่เป็นฝุ่น หรือมีคราบสกปรกเท่านั้น ต้องไม่ล้างน้ำเด็ดขาด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับเหตุน้ำมันรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรจากการเปิดใช้งาน

  • หลังใช้งานเครื่องปั่นไฟแล้ว อย่าลืมดูแลขั้วสายไฟก่อนเก็บทุกครั้ง ซึ่งขั้วสายไฟต้องต่อไว้ให้แน่น ไม่มีการเปรอะเปื้อนใดๆ ทั้งสิ้น 

2. ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน

การทำความสะอาดเป็นเรื่องที่ต้องแนะนำให้ทำเป็นประจำ สามารถทำบ่อยแค่ไหนก็ได้ เพราะถือว่าเป็นขั้นตอน ที่ง่ายที่สุด เพราะขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องปั่นไฟสามารถใช้เพียงแค่ผ้าแห้งเช็ดคราบสกปรก เช็ดฝุ่นต่างๆ ได้ทั้งภายนอกและภายใน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระแสขัดข้องหรือลัดวงจรจากเศษฝุ่นต่างๆ ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวเครื่องได้มากกว่าในหลายๆ ด้าน ในส่วนของการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ มาเช็ดนั้นจะเน้นใช้เพื่อลดอุณหภูมิความร้อนหลังจากการใช้งานอย่างหนักมาแล้วมากกว่า แต่ไม่แนะนำให้ผู้ที่ยังไม่มีความชำนาญมากพอทำขั้นตอนนี้

3. ถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากเครื่องปั่นไฟทุกครั้งหลังการใช้งาน

หลังการใช้งานเครื่องปั่นไฟในทุกๆ ครั้ง ควรทำการถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากเครื่องปั่นไฟพร้อมทำความสะอาดในทันทีทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเป็นคราบน้ำมัน หรือเป็นเศษตะกอนตกค้างในการใช้งานครั้งถัดไป โดยการถ่ายน้ำมันแนะนำให้ทำทั้งส่วนของห้องเครื่อง ตัวเครื่องยนต์ของ Generator และน้ำมันหล่อลื่นของสายพาน หรือเปลี่ยนสายพานใหม่ไว้เลยก็ได้เช่นกัน 

4. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาการใช้งาน

หนึ่งในวิธีดูแลเครื่องปั่นไฟที่ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ และเคร่งครัดในทุกๆ เครื่อง คือขั้นตอนของการ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง Generator เพื่อไม่ให้ไส้กรองหรือระบบห้องเครื่องกับตัวเครื่องยนต์ทุกส่วนเกิดความเสียหายจากการอุดตันของคราบน้ำมัน คราบตะกอน คราบของเหลวที่เสื่อมสภาพมาจากน้ำมันเก่า ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการทำลายเครื่องปั่นไฟให้พังได้มากที่สุดเช่นกัน เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟ ควรทำทุกๆ 250 ชั่วโมง ของการเปลี่ยนถ่ายแต่ละครั้ง หรือประมาณ 3 เดือน ควรดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อยืดอายุการใช้งาน และเพื่อให้เครื่องปั่นไฟพร้อมใช้งานอยู่ตลอด 

ส่วนด้านสายพานแนะนำให้เปลี่ยนทุกครั้งก่อนหรือหลังใช้งาน พร้อมใช้น้ำมันหล่อลื่นแทนจะช่วยประหยัดทุนค่าดูแลได้มากกว่า

5. ตรวจสอบท่อสายยาง สภาพนอต และเหล็กรัดท่อ

การตรวจสอบท่อสายยาง เหล็กรัดท่อ และนอต ที่เป็นอะไหล่ส่วนสำคัญและเป็นส่วนที่มักเกิดปัญหาในการใช้งานของเครื่องปั่นไฟมากที่สุด ดังนั้น การดูแลตรวจสอบสภาพของอะไหล่ข้างต้นนี้ ต้องทำสม่ำเสมอ ทั้งก่อนการเริ่มต้นใช้งานหรือหลังการใช้งานเครื่องปั่นไฟเสร็จก็ตาม หากพบว่ามีการชำรุดเพียงแค่เล็กน้อย แนะนำให้เปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทันที เพราะอาจเกิดความเสียหายซ้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างที่เครื่องปั่นไฟกำลังทำงานอยู่ได้ 

ลักษณะของนอต จะต้องมีความแน่นหนาทุกจุด และควรตรวจสอบทุกตัวด้วยเช่นกัน เพราะมีโอกาสที่เกลียวนอตจะหลวมเกิดขึ้นบ่อยมาก และมักเป็นปัญหาที่หลายๆ คนมองข้าม หรือใครที่ต้องการเปลี่ยนอะไหล่ยกชุดเพื่อการบำรุงรักษา เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ หรือเครื่องกระแสตรงก็ตาม แนะนำให้เปลี่ยนในระยะเวลาประมาณทุกๆ 3 เดือน ประสิทธิภาพจะยิ่งดีมากขึ้น

6. เปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิง และไส้กรองอากาศตามระยะเวลาการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ

ไส้กรองอากาศ และไส้กรองเชื้อเพลิงนั้น เป็นส่วนที่ช่วยให้เครื่องปั่นไฟสามารถใช้งานได้ราบรื่น และรับพลังงานกล หรือพลังงานจลน์ได้อย่างเต็มที่ ยิ่งเป็นไส้กรองใหม่ๆ จะสามารถทำให้เครื่องปั่นไฟทำงานเต็มประสิทธิภาพ ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าต่างๆ สูงมากด้วยเช่นกัน 

โดยไส้กรองเชื้อเพลิงไม่ควรมีคราบตะกอนจากน้ำมันหล่อลื่นติดอยู่มากเกินไป และไส้กรองอากาศก็ต้องระวังเรื่องเศษฝุ่นอุดตันเช่นกัน ดังนั้น ระยะเวลาของการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ และไส้กรองเชื้อเพลิงที่ดีที่สุดแนะนำให้อยู่ที่การเปลี่ยนทุก 500 ชั่วโมง หรือประมาณ 6 เดือน ขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้งาน 

7. ตรวจสอบระบบระบายความร้อนของเครื่องปั่นไฟ

ระบบหลักที่เครื่องปั่นไฟต้องเจอปัญหาหนักมากที่สุดในทุกๆ การใช้งาน คือ ระบบการระบายความร้อน หรือระบบคูลลิ่งนั่นเอง ซึ่งในการตรวจสอบระบบนี้แนะนำให้ทำทุกสัปดาห์ เพราะการตรวจเช็กหลักๆ ที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด คือการดูระดับของเหลวเย็นของระบบระบายความร้อนใน Heat Exchanger พร้อมกับการทำความสะอาดอะไหล่ของระบบระบายความร้อนด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ดให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เศษฝุ่นมาเกาะตัวได้ เช่น รังผึ้งระบายความร้อน พัดลมระบายความร้อน ท่อลมและข้อต่ออื่นๆ ของเครื่องยนต์ 

8. ตรวจสอบระบบแบตเตอรี่ และระบบไฟฟ้าของเครื่องปั่นไฟ

การตรวจสอบระบบแบตเตอรี่ และระบบไฟฟ้าของเครื่องปั่นไฟ เป็นการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่แนะนำให้ทำทุกๆ เดือนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของระบบแบตเตอรี่ สำหรับขั้นตอนหลักในการตรวจสอบง่ายๆ ด้วยตัวเอง สามารถเริ่มจากการทำความสะอาดบริเวณของขั้วแบตเตอรี่ และตรวจสอบนอตของแบตเตอรี่ให้มีความแน่นหนาอยู่เสมอ 

ส่วนการดูแลรักษาเชิงเทคนิคนั้น ต้องทำการวัดอัตราประจุแบตเตอรี่และการวัดระดับ Electrolyte ตลอดทุกเดือนด้วยเช่นกัน หากมีประจุพลังงานแบตเตอรี่ที่ไม่คงที่ หรือเกิดความเสียหายที่มองเห็นด้วยตาเปล่าแม้เพียงเล็กน้อย ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ทันที ไม่ควรซ่อมบำรุงแบตเตอรี่เก่าที่เสียหายอยู่โดยเด็ดขาด 

9. สตาร์ตเครื่องปั่นไฟเป็นประจำ เมื่อไม่ได้งานเป็นเวลานาน

หากเครื่องปั่นไฟไม่ค่อยได้นำมาใช้งาน ต้องมีการสตาร์ตเครื่องปั่นไฟให้บ่อยที่สุดเมื่อเปิดระบบใดๆ เลยเป็นเวลานานเพื่อให้เครื่องใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ และเพื่อยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ให้ได้ยาวนานขึ้นอีกหลายปี รวมถึงเป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของเครื่องปั่นไฟเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน อาจนำมาสตาร์ททุก ครั้งที่ตรวจสอบระบบระบายความร้อน ในทุกสัปดาห์หรือเดือนละ 1–3 ครั้ง

10. เก็บรักษาเครื่องปั่นไฟในที่แห้ง และเย็นเพื่อยืดอายุการใช้งาน

สถานที่สำหรับการจัดเก็บรักษาเครื่องปั่นไฟทุกรูปแบบ ต้องเก็บรักษาเครื่องปั่นไฟไว้ในที่แห้งและเย็น เพื่อป้องกันเรื่องของระบบเครื่องยนต์ต่างๆ เกิดการรั่วซึม หรือเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจากความชื้นและขัดข้องจากเศษฝุ่นต่างๆ นั่นเอง รวมถึงป้องกันไม่ให้เครื่องปั่นไฟมีอุณหภูมิความร้อนเกิดขึ้นก่อนการเริ่มใช้งาน ซึ่งอาจมาจากอุณหภูมิของสถานที่จัดเก็บที่มีความร้อนสะสมอยู่ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเครื่องปั่นไฟอย่างแน่นอน


ประโยชน์ของการดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


ประโยชน์ของการดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีประโยชน์อย่างมากในเรื่องการยืดอายุการใช้งานของเครื่องปั่นไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญสำหรับองค์กรใหญ่ๆ และมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น การทุ่มเทด้านการหมั่นตรวจสอบอะไหล่ ดูแลทำความสะอาด และคอยตรวจเช็กระบบการทำงานของเครื่องยนต์เป็นประจำ พร้อมเน้นเปลี่ยนเฉพาะอะไหล่ส่วนสำคัญต่างๆ ตามระยะเวลาอายุโดยเฉลี่ยนั้น เป็นการลดต้นทุนได้มากที่สุด และคุ้มค่ากับการดูแลเครื่องเพื่อการใช้งานอย่างยาวนานด้วยเช่นกัน เช่น

  • ลดต้นทุนค่าเปลี่ยนเครื่องปั่นไฟบ่อยๆ ได้มากขึ้น อาจใช้ต้นทุนมาในเรื่องอะไหล่สำหรับการดูแลรักษา เช่น ไส้กรอง , แบตเตอรี่ , น้ำมันหล่อลื่น , สายพาน และอื่นๆ ที่เป็นชิ้นส่วนควรเปลี่ยนตลอดทุกเดือน หรือทุกไตรมาสแบบนี้จะคุ้มค่ามากกว่าหลายเท่า

  • พร้อมใช้งานเครื่องปั่นไฟตลอดเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องของกระแสไฟฟ้าหลัก

  • หากทำการดูแลรักษาต่อเนื่องตามหลักของคู่มือแนะนำไว้ สามารถเชื่อถือในระบบความปลอดภัยได้เต็มที่

  • อายุการใช้งานเครื่องปั่นไฟยาวนานขึ้น


สรุปว่าการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการใช้งานทุกครั้ง และเป็นการประหยัดเงินทุนได้มากขึ้นในแต่ละปี รวมถึงอายุการใช้งานเครื่องปั่นไฟจะยาวนานมากขึ้นอีกเกิน 10 ปีได้อย่างแน่นอน หากมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของวิธีดูแลเครื่องปั่นไฟ การเลือกเครื่องปั่นไฟ Siam Generator ที่มีเครื่องปั่นไฟคุณภาพ มีมาตรฐาน เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย เพราะอะไหล่มีคุณภาพทุกชิ้นส่วน พร้อมบริการติดตั้งและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟหลังการขาย หากมีการบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รับรองว่าซื้อเครื่องเดียว สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าแน่นอน

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


แชร์บทความนี้